เครือซีพีได้เข้าไปลงทุนในเวียดนามมาตั้งแต่ปี 1988 หลังจากที่รัฐบาลเวียดนาม มีนโยบายเปิดประเทศเมื่อปี 1986 ภายใต้นโยบาย “โด๋ย เม๊ย “ Doi Moi โดยซีพีเริ่มต้นจากเปิดสำนักงานตัวแทนในนครโฮจิมินห์ และต่อมาเมื่อปี 1993 ได้จัดตั้งบริษัทภายใต้ชื่อ C.P. Vietnam Livestock Co. Ltd. และก่อสร้างโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกที่จังหวัดด่องนาย (Dong Nai) ทางภาคใต้ ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่จนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี 2009 ซี.พี. เวียดนามได้ควบรวมกิจการ บริษัท C.P. Vietnam Livestock Co.,Ltd และ บริษัท Charoen Pokphand Vietnam Co.,Ltd เป็นบริษัท C.P. Vietnam Livestock Corporation ปี 2011 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น C.P. Vietnam Corporation และซี.พี. เวียดนาม ดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย ตามรูปแบบธุรกิจครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร
ในปี 2021 เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ดำเนินธุรกิจครบรอบ 100 ปี ส่วนในประเทศเวียดนาม บริษัท ซี.พี. เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น ได้มีการลงทุนและพัฒนาเป็นระยะเวลากว่า 28 ปี โดยมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านการเกษตรที่ทันสมัย ตลอดจนการร่วมมือเพื่อสร้างสรรค์ภาคเกษตรอุตสาหกรรมแห่งอนาคต
ปัจจุบัน ซี.พี. เวียดนามกำลังพัฒนาตามห่วงโซ่ครบวงจร 3F Plus ประกอบด้วย Feed (อาหารสัตว์), Farm (ฟาร์ม), Food (อาหาร) บริษัทยังเน้นถึงการแปรรูปและส่งออก ด้วยวิสัยทัศน์ “ครัวของโลก” – มีการควบคุมระบบแปรรูปอย่างเข้มงวดเพื่อผลิตอาหารแปรรูปที่มีคุณภาพสูง สะอาด ปลอดภัยและสุขอนามัยสำหรับผู้บริโภคชาวเวียดนามและผู้บริโภคทั่วโลก ซี.พี. เวียดนามประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 4.0 ในห่วงโซ่ปศุสัตว์แบบครบวงจร เป็นการดำเนินตามนโยบายที่เน้นความทันสมัยของภาคเกษตรกรรมของเวียดนามที่ ทางพรรค และ รัฐบาลเวียดนามเน้นย้ำอยู่เสมอ : การจัดการเลี้ยงสัตว์ตามห่วงโซ่แบบครบวงจร เริ่มจาก อาหารสัตว์, พันธุ์สัตว์, การจัดการเลี้ยงสัตว์ , การจัดซื้อ, การเชือดสัตว์ไปจนถึงการแปรรูป การวางแนวทางอย่างสมดุลทางด้านการตลาด นำไปสู่การส่งออก
ซี.พี. เวียดนามได้ร่วมมือกับเกษตรกรเวียดนามทั้งด้านการปศุสัตว์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยใช้รูปแบบอุตสาหกรรมเกษตรทันสมัย มีระบบควบคุมที่เข้มงวดตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ เพื่อการผลิตอาหารสัตว์ คัดเลือกพันธุ์สัตว์มีคุณภาพสูง มีกระบวนการการเลี้ยงที่ได้มาตรฐานทางเทคนิค และ ระบบแปรรูปอาหารสะอาด และปลอดภัย มีช่องทางการจัดจำหน่ายที่คล่องตัวและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกขั้นตอน กระบวนการผลิต เริ่มตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ บริษัทได้ร่วมมือกับหน่วยงานท้องถิ่นในการดำเนินการตามนโยบายของรัฐในการปรับทิศทางปศุสัตว์ ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการผลิตปศุสัตว์ และบริหารจัดการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่บริษัทไปลงทุน บริษัทให้การสนับสนุนด้านเทคนิคแก่เกษตรกร เพื่อช่วยให้เกษตรกรพัฒนาปศุสัตว์ มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
หลังจากก่อตั้งมา 28 ปี บริษัทได้รับการยอมรับและไว้วางใจจากเกษตรกร คู่ค้า ลูกค้านับเป็นจำนวนล้านราย และได้รับรางวัลอันทรงเกียรติมากมายที่รัฐบาลและกระทรวงต่างๆ มอบให้ โดยเฉพาะเหรียญอิสริยาภรณ์แรงงาน ชั้นตรี ที่รัฐบาลเวียดนามมอบให้ ทุกภาคส่วนรับรู้ถึงคุณค่าของผลงานอันยอดเยี่ยมของบริษัท ซี.พี. เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น เพื่อการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศเวียดนาม
“พนักงาน ซี.พี. เวียดนามเรามีจิตสำนึก รู้จักความกตัญญูเสมอ พวกเรารับรู้บุญคุณแผ่นดินเวียดนาม รู้บุญคุณประชาชนชาวเวียดนาม และอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่ดีงาม ผมคิดว่า ซี.พี. เวียดนาม ประสบความสำเร็จเกิดจาก วัฒนธรรมที่รู้จักบุญคุณ ความกตัญญู และการแบ่งปัน”คุณมนตรี สุวรรณโพธิ์ศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. เวียดนาม คอร์ปอเรชั่นกล่าวถึงความรู้สึกแทนชาวซีพีเวียดนาม
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2010 ซี.พี. เวียดนามได้จัดตั้ง “กองทุน ซี.พี. เวียดนามเพื่อการกุศล” (CPV’s Donation Fund) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้พนักงานมีส่วนร่วมและมีความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวกับกิจกรรม CSR คุณ Le Nhat Thuy – ประธานกองทุน ซี.พี. เวียดนามเพื่อการกุศล ได้กล่าวไว้ว่า: “กองทุน ซี.พี. เวียดนามเพื่อการกุศล ของบริษัท ซี.พี. เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น ได้ก่อตั้งขึ้นมาด้วยการสนับสนุนอย่างกระตือรือร้นจากคณะผู้บริหาร และการตอบสนองเชิงบวกของพนักงานมากกว่าหมื่นคนทั่วประเทศ เราเลือกเสื้อสีชมพูเป็นสีเฉพาะของกองทุน-เป็นสีแห่งการแบ่งปัน มีน้ำใจ เมตตา สามัคคี ร่วมแรง ร่วมใจ มุ่งช่วยเหลือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคม สีชมพูยังเป็นสีของดอกบัวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเครือ ซี.พี. ด้วยคุณค่าของความกตัญญูต่อคุณแผ่นดิน”
เวลาผ่านไปกว่า 11 ปี ด้วยจิตอาสาที่มุ่งมั่นอย่างไม่หยุดยั้ง ของ “นักรบเสื้อชมพู” นั้นได้รับการตอบแทนด้วยผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เหนือความคาดหวัง กิจกรรมโดดเด่นของกองทุน ซี.พี. เวียดนามเพื่อการกุศล โดยมีโครงการบริจาคโลหิตระดับประเทศ 2 โครงการใหญ่ (เทศกาลใบไม้ผลิสีชมพู และ เส้นทางสีแดง) นอกจากนี้ กองทุนยังจัดกิจกรรมบริจาคโลหิตที่บริษัทผ่านวันครอบครัว ซี.พี. เวียดนาม (CPV’s Family Day) สร้างบ้านพักสำหรับผู้ป่วยมะเร็งและญาติที่โรงพยาบาลมะเร็ง K Tan Trieu; สนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษา และ นักเรียน สร้างฟาร์มไก่ไข่ เพื่อให้โภชนาการแก่เด็กนักเรียน มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและมอบอาหารและของขวัญแก่ประชาชนในชุมชนยากจนและพื้นที่ห่างไกล บรรเทาทุกข์ผู้ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ อุทกภัย เป็นต้น
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา บริษัท ซี.พี. เวียดนามเป็นพันธมิตรที่แน่วแน่และมีประสิทธิภาพ ร่วมกับสหพันธ์เยาวชนแห่งชาติเวียดนาม,สมาคมแพทย์เยาวชนเวียดนามในการช่วยเหลือสังคม ทำกิจกรรมสาธารณะกุศล และดูแลสุขภาพชุมชนทั่วประเทศเวียดนาม
ในปี 2014 CPV ได้ก่อตั้ง “สหพันธ์เยาวชน ซี.พี.เวียดนาม” ภายใต้“สหพันธ์เยาวชนแห่งชาติเวียดนาม” เพื่อร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อสังคมด้วยคำขวัญ “เยาวชน ซี.พี. เวียดนาม สามัคคี สร้างสรรค์ และอุทิศตน” สร้างโอกาส และสภาพแวดล้อมให้เยาวชนของบริษัทได้รับการฝึกฝน อุทิศตน และเติบโตเต็มที่ เพื่อการพัฒนาบริษัท และประเทศชาติ
นอกจากกิจกรรมช่วยเหลือทางสังคมแล้ว บริษัทยังให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานในบริษัท หรือที่เรียกว่า Employee Social Responsibility (ESR) ที่เน้นหลักการสร้างคนดีและให้ความสำคัญกับการดูแลพนักงานเป็นอย่างดี ช่วยให้เขารู้จักตอบแทนบุญคุณ แบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่นในสังคม ดังนั้นกิจกรรม ESR ของบริษัทจึงมีความหลากหลายและเหมาะสม เช่น กิจกรรมเยี่ยมบ้านของพนักงาน (Employee’s Home Visiting) เพื่อให้ผู้บริหาร ผู้จัดการได้ดูแลพนักงานและครอบครัวของพนักงาน และช่วยเหลือในเวลาที่มีปัญหา กิจกรรมวันครอบครัว ซี.พี. เวียดนาม (CPV’s Family Day) มุ่งแสดงความรัก ความสามัคคีเสมือนเป็นบ้านของพนักงานทุกคนและครอบครัว พันธมิตรบริษัท และลูกค้าอื่นๆ ร่วมกันทำความดี “ กองทุนแสงสว่างแห่งความหวัง “ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานทุกคนตระหนักถึงการช่วยเหลือและดูแลซึ่งกันและกันในขณะที่เผชิญปัญหายากลำบาก
คุณมนตรี สุวรรณโพธิ์ศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ความสำเร็จของ ซี.พี. ในวันนี้เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างเวียดนามและไทย บริษัทได้รับการสนับสนุนและความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศ กระทรวง และหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะกระทรวงการเกษตรและพัฒนาชนบท และหน่วยงานท้องถิ่นตลอดระยะเวลา 28 ปีด้านการลงทุนและพัฒนาในประเทศเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เราขอขอบคุณและให้เกียรติเกษตรกร ลูกค้า ผู้บริโภค และผู้คนต่างๆในเวียดนามหลายล้านคนที่คอยให้กำลังใจ อยู่เคียงข้างกันและร่วมงานกับเราตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา เปรียบเสมือนกำลังใจที่ช่วยให้เราผ่านอุปสรรค ความยากลำบาก ให้ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยและเวียดนาม ผมหวังว่าจะมีผู้ประกอบการไทยและเวียดนามเพิ่มมากขึ้น ที่จะลงทุนในการผลิตและทำธุรกิจเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ เพื่อให้ไม่เพียงแค่ 45 ปี แต่ยังมุ่งสู่ 50 ปี 100 ปี และนานกว่านั้น เพื่อเชื่อมมิตรภาพระหว่างไทยและเวียดนามจะแข็งแกร่งยิ่งขึ้นและใกล้ชิดยิ่งขึ้นและเพิ่มพูยกระดับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง”
ด้วยวิสัยทัศน์และพันธกิจของ CPV ได้มีส่วนส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตรของประเทศเวียดนาม เพื่อเปิดตลาดการค้าต่างประเทศ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางด้านเกษตรสำหรับเกษตรกร และมุ่งเน้นการส่งเสริมการแปรรูปเพื่อการส่งออกมากยิ่งขึ้น ร่วมกับเกษตรกรเวียดนาม เสริมสร้างความมั่งคั่ง ในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง พนักงาน CPV ทุนคนต่างมีความสามัคคี ร่วมกันเสริมสร้างบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเอง เพื่อยกระดับผลงานของบริษัท ให้เป็นที่ประจักษ์อย่างยอดเยี่ยมร่วมกัน “ ความสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจแห่งความสัมพันธ์ ความสามัคคี และมิตรภาพ ระหว่างสองประเทศ ทั้งประเทศไทยและประเทศเวียดนาม สืบไป”
คุณมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันเวียดนามเป็นฐานการผลิตนอกประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากจีน การลงทุนและการทำตลาดในเวียดนามยังมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก จากการเมืองเสถียรภาพ นโยบายต่อเนื่อง และเวียดนามยังเป็นสมาชิกระหว่างประเทศหลายเวทีที่นักลงทุนสามารถใช้สิทธิประโยชน์จากการเป็นสมาชิกได้ เช่น AEC, APEC, WTO, CPTPP และ EVFTA นอกจากนี้ ประชากรของเวียดนามมีถึง 97 ล้านคน เป็นตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 31 ปี ถือเป็นคนรุ่นใหม่และอยู่ในวัยแรงงานมีกำลังซื้อสูง ขณะเศรษฐกิจ (จีดีพี) เวียดนามขยายตัวเฉลี่ย 6.5% ต่อปี
ดังนั้น บริษัทจึงมีแผนขยายการลงทุนในเวียดนามต่อเนื่อง ล่าสุด มีโครงการเลี้ยงไก่แปรรูปครบวงจรเพื่อการส่งออกเป็นบริษัทแรก และจะเป็นครั้งแรกของประเทศเวียดนาม ที่ จ.บิ่นห์เฟื้อก ทางตอนใต้ของเวียดนาม ใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 220 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป้าหมายส่งออกไปญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา และตะวันออกกลาง
นอกจากนี้ จะตั้งโรงงานแปรรูปเนื้อสุกรเพื่อส่งออกอีก 1 โรงที่ฮานอย ใช้เงินลงทุนประมาณ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้ง 2 โรงงานข้างต้น จะแล้วเสร็จและเริ่มผลิตส่งออกได้ไม่เกินกลางปี 2563 รวมถึงจะมีการขยายกำลังผลิตลูกกุ้งจาก 1.2 หมื่นล้านตัว เพิ่มเป็น 5 หมื่นล้านตัว/ปี เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของรัฐบาลเวียดนาม ที่ประกาศจะผลักดันเพิ่มผลผลิตกุ้งให้ได้ 1 ล้านตันต่อปี ในปี 2568 เพื่อเป็นผู้ส่งออกกุ้งอันดับ 1 ของโลก ซึ่งในจำนวนดังกล่าว ซี.พี. มีเป้าหมายเข้าไปมีส่วนร่วม 5 แสนตัน หรือครึ่งหนึ่ง
ปัจจัยความสำเร็จของ ซี.พี.เวียดนาม ได้หลายประการ ที่สำคัญนอกจากเศรษฐกิจและกำลังซื้อของชาวเวียดนามที่กำลังขยายตัวต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นผลจากการนำโมเดล Feed-Farm-Food ที่ประสบความสำเร็จจากในไทย ไปต่อยอดขยายธุรกิจในเวียดนาม มีการทำเกษตรและปศุสัตว์ในระบบเกษตรพันธสัญญา (คอนแทร็กต์ฟาร์มมิ่ง) แบบปีต่อปี มีข้อตกลงราคารับซื้อที่แน่นอน ช่วยเกษตรกรลดความเสี่ยง ผสานกับการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) ที่ได้ใจชาวเวียดนามอย่างมาก อาทิ กิจกรรมบริจาคโลหิต ที่ ซี.พี.เวียดนาม เป็นผู้รณรงค์ ซึ่งได้สร้างประโยชน์แก่วงการสาธารณสุขของเวียดนามอย่างมาก นอกจากนี้ มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อนพนักงานช่วยเหลือเพื่อนพนักงานดูแลซึ่งกันและกัน มีโครงการหน่วยแพทย์อาสา ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนนักศึกษาที่ยากไร้ เป็นต้น
และที่ถือเป็นคีย์ซักเซสสูงสุด คือ บริษัทให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาให้พนักงานชาวเวียดนามของบริษัทที่มีอยู่กว่า 2 หมื่นคนทั่วประเทศ ได้เป็นผู้บริหารระดับสูงเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้แสดงศักยภาพและความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ ทั้งหมดนี้จะนำพา ซี.พี.เวียดนาม สู่ความยั่งยืน
ที่มา:C.P.Vietnam Corporation/ ฐานเศรษฐกิจ 13-15 ธันวาคม 2561