ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯสยามบรมราชกุมารี และถ้วยประทาน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และเงินรางวัลกว่า 650,000 บาท พร้อมสิทธิ์ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ ฯ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั่วประเทศ
สมัครและส่งภาพได้ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน – 31 สิงหาคม 2564 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.trueplookpanya.com/new/csa/project/14/ประกวดภาพถ่าย-
การประกวด แบ่งเป็น 2 ระดับ และ 2 ประเภท
ระดับบุคคลทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท และหัวข้อพิเศษ
1. ประเภทสัตว์ป่า แบ่งเป็น 4 ประเภทย่อย
1.1 ภาพนก ได้แก่ นกชนิดต่าง ๆ เป็ด ไก่ป่า เหยี่ยว นกยาง ฯลฯ
1.2 ภาพสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ช้าง เสือ กวาง ลิง เลียงผา วาฬ ฯลฯ
1.3 ภาพสัตว์อื่น ๆ เช่น สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์น้ำ แมลง ฯลฯ
1.4 ภาพพฤติกรรมสัตว์ป่า เป็นภาพที่สื่อให้เห็นถึงการกระทำหรือการแสดงออกของสัตว์ป่าในด้านต่าง ๆ อาทิ การกินอาหาร การเลือกคู่ ผสมพันธุ์ การเลี้ยงลูก การต่อสู้หรือพฤติกรรมอื่น ๆ ที่แปลกน่าประทับใจ หรือน่าสนใจ
2. ประเภทป่าไม้ แบ่งเป็น 3 ประเภทย่อย
2.1 ภาพ Landscape คือภาพธรรมชาติในมุมกว้าง แสดงให้เห็นถึงความ สมบูรณ์และความงดงามของธรรมชาติโดยรวม เช่น ภาพทิวเขา สายหมอก น้ำตก ทุ่งหญ้า ป่าดิบป่าพรุ ฯลฯ
2.2 ภาพ Macro คือภาพธรรมชาติในมุมที่เฉพาะเจาะจง เพื่อถ่ายทอดให้เห็นถึงรายละเอียดความงดงาม เช่น เห็ด มอส เฟิร์น ดอกไม้ กล้วยไม้ ใบไม้ ฯลฯ
2.3 ภาพต้นไม้มีเรื่องเล่า คือภาพถ่ายต้นไม้ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มีเรื่องราว เกี่ยวข้องความเชื่อ ความศรัทธาของวิถีชุมชนท้องถิ่น หรือมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจหรือเคยถูกกล่าวถึงในวรรณคดี หรือเป็นต้นไม้ที่หายากและยังคงเป็นต้นไม้ที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น
3. ประเภทหัวข้อพิเศษ
‘กล้วยไม้ไทยในธรรมชาติ’ ภาพถ่ายกล้วยไม้พันธุ์ไทยในธรรมชาติ โดยไม่จำกัดว่าจะถ่ายเป็นแบบ Macro หรือจะถ่ายเป็นภาพมุมกว้าง แต่ต้องถ่ายภาพในสถานที่ธรรมชาติเท่านั้น ไม่อยู่โรงเรือนหรือในที่เพาะเลี้ยง
ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. ประเภทสัตว์ป่าทุกชนิด ไม่แบ่งประเภทย่อยเหมือนระดับบุคคลทั่วไป
2. ประเภทป่าไม้ทุกชนิด ไม่แบ่งประเภทย่อยเหมือนระดับบุคคลทั่วไป
เกณฑ์การตัดสิน
1. การถ่ายทอดแนวคิด อารมณ์ และการสื่อความหมายภายใต้แนวคิด ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’
2. ความสวยงามและการจัดวางองค์ประกอบตามหลักทัศนศิลป์
รูปแบบของไฟล์ภาพส่งประกวด
รูปแบบของไฟล์
1. ต้องเป็นภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัล เป็นไฟล์ภาพสีแนวนอนหรือแนวตั้ง ถ่ายโดยการใช้กล้อง Digital ทุกรูปแบบ ไฟล์ภาพต้องมีขนาดด้านที่สั้นที่สุดไม่ต่ำกว่า 2,400 pixels และด้านที่ยาวที่สุดไม่เกินกว่า 4,800 pixels ถ้าเป็นภาพ Panorama ต้องมีขนาดยาวที่สุดเท่ากับ 4,800 pixels ในรูปแบบไฟล์ .jpg เท่านั้น (ต้องเก็บ File ต้นฉบับไม่ว่าจะเป็น Raw Files และ/หรือ .jpg ไว้สำหรับการตรวจสอบ)
2. และต้องไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟฟิกใด ๆ ลงบนภาพ รวมทั้งห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใดๆ
3.รูปแบบของไฟล์ในแบบมาตรฐาน .jpg โดยมีความละเอียดระหว่าง 3-5 Mb ไม่รับภาพที่เป็น Raw Files และไฟล์ที่เป็นสกุลอื่น (แต่ผู้ส่งเข้าประกวดจะต้องส่งไฟล์ภาพต้นฉบับมายืนยันทุกภาพ ในกรณีที่ภาพได้รับรางวัล)
4.การใช้โปรแกรมในการโปรเซสภาพให้สามารถดำเนินการได้เฉพาะการปรับสี และแสงของภาพได้ตามความเหมาะสมแต่ยังคงความเป็นธรรมชาติ ทั้งนี้ให้เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการตัดสิน ผู้ส่งภาพต้องเก็บภาพต้นฉบับไว้เพื่อตรวจสอบจนกว่าการจัดการประกวดจะแล้วเสร็จลง (กรณีคณะกรรมการมีความประสงค์ขอดูภาพต้นฉบับ)
วิธีการส่งภาพเข้าประกวด
1.อัพโหลดไฟล์ภาพผ่านเวปไซต์ www.trueplookpanya.com ผู้ส่งภาพเข้าประกวดจะต้องลงทะเบียนผ่านระบบบนหน้าเว็บไซต์โดยกรอกชื่อ, นามสกุล พร้อมรายละเอียดและโหลดภาพเข้าประกวดที่มีขนาดไม่น้อยกว่า 3Mb และไม่เกิน 5Mb
2.ส่งภาพเข้าประกวดได้ทั้งหมดไม่เกิน 10 ภาพ (สัตว์ป่า 5 ภาพ, ป่าไม้ 5 ภาพ รวมทั้งหมด 10 ภาพ)
กติกาการส่งภาพเข้าประกวด
1. ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดจะต้องเป็นผู้สร้างสรรค์ภาพถ่ายนั้น ๆ ด้วยตนเอง ห้ามทำซ้ำ ดัดแปลง เลียนแบบภาพถ่ายของบุคคลอื่น หรือนำภาพถ่ายของผู้อื่นมาส่ง หรือส่งในนามผู้อื่นโดยเด็ดขาด หากมีบุคคลใดมากล่าวอ้างเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพถ่าย ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดจะต้องรับผิดชอบในการเจรจา ตลอดจนรับผิดชอบต่อความเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียว (พร้อมทั้งปกป้องผู้จัดประกวดไม่ให้ได้รับความเสียหายจากกรณีดังกล่าว) โดยผู้จัดประกวดจะไม่รับผิดชอบใด ๆ ต่อความเสียหายและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นข้างต้นทั้งสิ้น
2. ภาพที่ส่งเข้าประกวดจะต้อง ไม่มีลายน้ำ เครดิตภาพ ตัวอักษร หรือกราฟฟิกใด ๆบนภาพถ่าย รวมทั้งห้ามเว้นขอบภาพเป็นสีขาวหรือสีใด ๆ
3. ต้องเป็นภาพที่จับองค์ประกอบและส่วนประกอบของภาพที่ปรากฏในขณะที่กดชัตเตอร์ ห้ามเพิ่มเติม หรือลบองค์ประกอบ และ/หรือ ส่วนประกอบของภาพ ภายหลังจากการกดชัตเตอร์แล้วเป็นอันขาด การตัดส่วนของภาพหลังจากการกดชัตเตอร์ให้สามารถกระทำได้ โดยสัดส่วนต้องเป็นไปตามจริงของธรรมชาติ กล่าวคือสามารถปรับแต่งภาพถ่ายได้ตามความเหมาะสม แต่ต้องไม่ทำให้ภาพถ่ายนั้น ดูผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของคณะกรรมการตัดสินซึ่งถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด
4. ภาพที่ถ่ายโดย Drone และ Camera Trap ต้องไม่ละเมิดกฎหมาย หรือระเบียบราชการที่เกี่ยวข้องสำหรับพื้นที่ที่ถ่ายภาพนั้น ๆ โดยจะต้องมีเอกสารที่ได้รับอนุญาตจากราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นหนังสืออนุญาตให้ถ่ายภาพ/ถ่ายทำภาพยนตร์ (หากอยู่ในพื้นที่ของกรมอุทยานฯ และกรมป่าไม้) และภาพถ่ายจาก Camera Trap จะต้องมีเอกสารที่ได้รับอนุญาตจากราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและต้องได้รับอนุญาตให้เข้าไปติดตั้งกล้องในพื้นที่ภายในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
5. ภาพในประเภทสัตว์ป่า จะต้องเป็นชนิดพันธุ์ที่พบหรือถิ่นกระจายพันธุ์และอาศัยในประเทศไทย และต้องถ่ายจากสถานที่ที่เป็นธรรมชาติเท่านั้น และภาพในประเภทป่าไม้จะต้องเป็นภาพที่ถ่ายในประเทศไทยเท่านั้น ทั้งนี้ต้องไม่ตกแต่ง เปลี่ยนแปลง ปรับสภาพแวดล้อมธรรมชาติหรืออื่นใดเพื่อการถ่ายภาพอันเป็นการทำให้ธรรมชาติเสียหาย หรือรบกวนชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ และไม่ปฏิบัติผิดจริยธรรมในการถ่ายภาพกรณีการถ่ายภาพในอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าวนอุทยาน และหรือป่าสงวนแห่งชาติ จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของกรมอุทยานแห่งชาติฯ และกรมป่าไม้ โดยเคร่งครัด และหากเป็นโซนพื้นที่เปราะบาง(พื้นที่อนุรักษ์ที่ห้ามบุคคลภายนอกเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต) จะต้องมีการขออนุญาตเข้าพื้นที่ในทุกกรณี และจะต้องมีเอกสารที่ได้รับอนุญาตจากราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแสดงเมื่อคณะกรรมการตัดสินร้องขอ
6. ในวันที่ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดและตลอดระยะเวลาที่การประกวดภาพถ่ายยังไม่เสร็จสิ้น ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดขอรับรองและยืนยันว่าภาพถ่ายดังกล่าวข้างต้น เป็นภาพที่ไม่เคยได้รับรางวัลจากการประกวดใด ๆ มาก่อน (ไม่ว่าจะเป็นการประกวดในเวทีสาธารณะ หรือการประกวดภายในของสมาคม, ชมรม หรือองค์กรอื่นใด) และ/หรือไม่เคยถูกตีพิมพ์ และ/หรือ เผยแพร่ หรือโฆษณาในนิตยสาร หนังสือ สื่ออินเทอร์เน็ตหรือโพสต์ลงเว็บไซต์ (ไม่ว่าจะกระทำผ่านรูปแบบใด ๆ อาทิ PC, Notebook, Smart Phone และ/หรือ Smart Device ใด ๆ ก็ตาม) ยกเว้นการโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ซึ่งไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในทางการค้าหรือเชิงพาณิชย์หรือเพื่อการโฆษณา และ/หรือไม่เป็นภาพถ่ายที่ส่งขายอยู่ในคลังภาพ (Stock Photo) ไม่ว่าในประเทศไทยหรือต่างประเทศทั้งนี้ในกรณีที่เกิดปัญหาเกี่ยวกับการวินิจฉัยปัญหาต่าง ๆ ข้างต้น ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดตกลงให้การพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สุดและเด็ดขาดและจะดำเนินการให้เป็นไปตามข้อร้องเรียนข้างต้นจนกว่าการประกวดภาพถ่ายข้างต้นจะเสร็จสิ้นลง
7. ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดจะต้องรักษาไฟล์ภาพต้นฉบับทั้งก่อนและหลังการปรับแต่งไว้ โดยคณะกรรมการตัดสินสามารถเรียกขอไฟล์ภาพดังกล่าวได้ หากเกิดกรณีมีการประท้วงในการทำผิดกติกา หรือในกรณีที่จะต้องนำภาพถ่ายไปพิมพ์ในขนาดใหญ่
8. ภาพที่เข้ารอบทุกภาพ (รวมถึงภาพที่ได้รับรางวัล) ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดตกลงให้ ผู้จัดประกวด คือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, เครือเจริญโภคภัณฑ์จำกัด, บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด(มหาชน), บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (โลตัส) และบริษัท ซีพี บีแอนด์เอฟ (ไทยแลนด์) จำกัด ถือลิขสิทธิ์ในภาพถ่ายร่วมกันกับผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดโดยผู้จัดประกวดสามารถนำไปจัดแสดงในสถานที่ต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ เพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรสัตว์ป่า ป่าไม้ และระบบนิเวศ หรือดำเนินการใดๆ ในเชิงพาณิชย์ กับภาพถ่ายที่เข้ารอบนั้นได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจระบุชื่อผู้ถ่ายหรือไม่ก็ได้ตามความเหมาะสม ภาพถ่ายที่ไม่เข้ารอบทั้งหมดภายหลังการประกวดเสร็จสิ้นลงคณะกรรมการตัดสินจะลบไฟล์ภาพทั้งหมดทิ้ง และลิขสิทธิ์ของภาพถ่ายในกรณีนี้ยังคงเป็นของเจ้าของภาพถ่าย ผู้ส่งภาพถ่ายดังกล่าวเข้าประกวดหรือเจ้าของภาพมีสิทธิ์แสวงหาประโยชน์จากภาพถ่ายได้อย่างสมบูรณ์
9. หากพบว่าผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดมีการทำผิดกติกา เช่น ภาพที่ส่งมามีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนหรือทำผิดกติกาการประกวดในข้อใดข้อหนึ่ง คณะกรรมการตัดสินมีอำนาจในการตัดสิทธิ์ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดรายนั้น โดยมีโทษตั้งแต่การตัดสิทธิ์ในการประกวด การเพิกถอนสิทธิ์ในทุกรางวัล จนถึงโทษขั้นสูงสุด คือไม่ให้ส่งภาพเข้าประกวดในทุกกิจกรรมของกรมอุทยานแห่งชาติฯ และเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นระยะเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการตัดสินมีมติตัดสิทธิ์ภาพถ่ายนั้น ๆ และหากผู้ถูกตัดสิทธิ์ ได้ส่งภาพถ่ายอื่นเข้าร่วมประกวดในครั้งนั้น (แม้ภาพถ่ายเหล่านั้นจะไม่ผิดกติกา) ก็จะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้รับรางวัลใด ๆ ด้วยเช่นกัน ผู้ส่งภาพเข้าประกวดที่ถูกตัดสิทธิ์แม้ว่าจะได้รับการพิจารณาได้รับค่าตอบแทน และ/หรือรางวัลใดรางวัลหนึ่งไปแล้ว หากมีการท้วงติงและสามารถพิสูจน์ได้ว่าทำผิดกติกาจริง ผู้จัดประกวดสามารถยกเลิกและเปลี่ยนแปลงการตัดสิน รวมทั้งขอคืนค่าตอบแทนและ/หรือรางวัลคืนได้ทั้งหมด
10. หากปรากฏว่าผู้ที่ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดมีข้อผิดพลาดอื่น ๆ อันมิได้เกิดจากการทำผิดกติกา เช่น การกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน การส่งภาพถ่ายที่ผิดขนาด หรืออื่น ๆคณะกรรมการอาจตัดสินให้ภาพถ่ายนั้นเป็นโมฆะตามแต่กรณี การพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด
11. ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกฎ กติกาไม่ครบถ้วนหรือไม่เข้าใจกฎ กติกา เป็นอันขาด และการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด
การคัดค้านภาพที่ผ่านเข้ารอบ
1. ภาพที่ผ่านเข้ารอบในทุกประเภทย่อย 7 ภาพสุดท้ายทุกภาพ จะเปิดให้มีการคัดค้านเกี่ยวกับการทำผิดกติกา ตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2564 – วันที่ 6 ตุลาคม 2564 ซึ่งผู้คัดค้านจะต้องแจ้งข้อมูล และ/หรือ แสดงหลักฐานการคัดค้านให้เรียบร้อยในวันที่แจ้งการคัดค้าน หากไม่สามารถแจ้งและ/หรือแสดงหลักฐานการคัดค้านให้เรียบร้อยในคราวเดียวกันได้หรือหากพ้นกำหนดระยะเวลาคัดค้านในวันที่ 6 ตุลาคม 2564 ให้ถือว่าการคัดค้านไม่มีผลใด ๆ
2. หากปรากฏว่าผู้ที่ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดมีข้อผิดพลาดอื่น ๆ อันมิได้เกิดจากการทำผิดกติกา เช่น การกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน การส่งภาพถ่ายที่ผิดขนาด หรืออื่น ๆ คณะกรรมการอาจตัดสินให้ภาพถ่ายนั้นเป็นโมฆะตามแต่กรณี การพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด
3. ผู้ส่งภาพถ่ายเข้าประกวดไม่มีสิทธิ์อ้างว่ากระทำผิดเพราะอ่านกฎ กติกาไม่ครบถ้วนหรือไม่เข้าใจกฎ กติกา เป็นอันขาด และการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการตัดสินถือเป็นที่สุดและเด็ดขาด
รางวัลการประกวด
1. ระดับบุคคลทั่วไป
ประเภทสัตว์ป่า
รางวัลเกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล
– ถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (นำรางวัลยอดเยี่ยมของสัตว์ป่าทั้ง 4 ประเภทย่อย มาตัดสิน เพื่อคัดเลือกเป็นรางวัลเกียรติยศ
– เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 4 รางวัล
– ถ้วยรางวัล จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– เงินรางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลดีเลิศ จำนวน 4 รางวัล
– โล่รางวัล จากปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– เงินรางวัล ๆ ละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลดีเด่น จำนวน 4 รางวัล
– โล่รางวัล จากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
– เงินรางวัล ๆ ละ 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
ประเภทป่าไม้
รางวัลเกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล
– ถ้วยประทานสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (นำรางวัลยอดเยี่ยมของป่าไม้ทั้ง 3 ประเภทย่อย มาตัดสินเพื่อ คัดเลือกเป็นรางวัลเกียรติยศ )
– เงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 3 รางวัล
– ถ้วยรางวัล จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– เงินรางวัล ๆ ละ 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลดีเลิศ จำนวน 3 รางวัล
– โล่รางวัล จากปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– เงินรางวัล ๆ ละ 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลดีเด่น จำนวน 3 รางวัล
– โล่รางวัล จากอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
– เงินรางวัล ๆ ละ 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
ประเภทหัวข้อพิเศษ ‘กล้วยไม้ไทยในธรรมชาติ’
รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล
– ถ้วยรางวัล จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
2. ระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา
ประเภทสัตว์ป่า
รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล
– ถ้วยรางวัล จากเครือเจริญโภคภัณฑ์
– เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลดีเลิศ จำนวน 1 รางวัล
– โล่รางวัล จากเครือเจริญโภคภัณฑ์
– เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล
– โล่รางวัล จากเครือเจริญโภคภัณฑ์
– เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
ประเภทป่าไม้
รางวัลยอดเยี่ยม จำนวน 1 รางวัล
– ถ้วยรางวัล จากเครือเจริญโภคภัณฑ์
– เงินรางวัล 20,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลดีเลิศ จำนวน 1 รางวัล
– โล่รางวัล จากเครือเจริญโภคภัณฑ์
– เงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลดีเด่น จำนวน 1 รางวัล
– โล่รางวัล จากเครือเจริญโภคภัณฑ์
– เงินรางวัล 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
หมายเหตุ :
ทุกรางวัลจะได้รับสิทธิ์ท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ ฯ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พร้อมพี่พัก จำนวน 3 วัน 2 คืน จำนวน 5 ท่าน (โดยผู้รับรางวัลจะต้องประสานงานจอง และปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ ตามความเหมาะสมของแต่ละสถานที่)
กำหนดการจัดโครงการ ฯ
– ประกวดภาพถ่ายผ่านแฟนเพจ ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ ครั้งที่ 1 : มกราคม 2564
– กิจกรรมอบรมถ่ายภาพ Online ครั้งที่ 1 : 27 มีนาคม 2564
– ประกวดภาพถ่ายผ่านแฟนเพจ ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ ครั้งที่ 2 : เมษายน 2564
– เปิดตัวโครงการ: 22 มิถุนายน 2564
– กิจกรรมอบรมถ่ายภาพ Online ครั้งที่ 2 : สิงหาคม 2564
– ปิดรับสมัคร : 31 สิงหาคม 2564
– ตัดสินภาพถ่าย : 18 กันยายน 2564
– ประกาศผลภาพถ่ายที่เข้าข่ายได้รับรางวัล : 22 กันยายน 2564
– กิจกรรมอบรมถ่ายภาพ Online ครั้งที่ 3 : ตุลาคม 2564
– ปิดรับการร้องเรียนภาพถ่ายที่เข้าข่ายได้รับรางวัล: 6 ตุลาคม 2564
– ยืนยันการพิจารณาภาพ จากกรมอุทยาน ฯ: 22 ตุลาคม 2564
– ประกวดภาพถ่ายผ่านแฟนเพจ ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ ครั้งที่ 3 : พฤศจิกายน 2454
– พิธีมอบรางวัล ประจำปี 2563 และประจำปี 2564: ธันวาคม 2564
รายละเอียดเพิ่มเติมที่
-ฝ่ายกิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม ทรูปลูกปัญญา
เลขที่ 18 อาคารทรูทาวเวอร์ ชั้น 20 ถนนรัชดาภิเษก
แขวง/เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์ 02-858-6378 www.trueplookpanya.com
เฟซบุ๊กแฟนเพจ ‘สัตว์มีค่า ป่ามีคุณ’ และ IG : cp_photocontest
-สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 02-579-6666 ต่อ 1641-2
สมัครและส่งภาพได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2564
ได้ที่นี่ คลิก!!