ย้อนกลับไปเมื่อราวปี2535 หรือ 29ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนข้าวโพดที่เป็นวัตถุดิบสำคัญของการเลี้ยงสัตว์ ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์
ทำให้เกิดคำถามตามมาว่าจะทำอย่างไรกับเรื่องนี้ ซึ่งมีแนวคิดการแก้ปัญหา 2ทางคือไม่ขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดเพิ่มก็ต้องทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น
เวลานั้นซีพีเห็นแล้วว่าการขยายพื้นที่ปลูกข้าวโพดไม่ใช่ทางออกที่ดีนักเพราะเกรงว่าจะมีการเพิ่มพื้นที่ปลูกด้วยการบุกรุกพื้นที่ป่า ขณะที่เกษตรกรปลูกข้าวโพดพากันเปลี่ยนอาชีพขายที่ดิน ก็จะทวีความรุนแรงและผลผลิตเฉลี่ยข้าวโพดของประเทศมีเพียง 300-400 กิโลกรัมต่อไร่
ด้วยความรับผิดชอบและต้องการบรรเทาปัญหาการขาดแคลนข้าวโพดในประเทศ
ซีพีจึงตั้งบริษัทซี.พี.แสตนดาร์ดรีซ้อส ในปี2522 ขึ้นมาเพื่อทำวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดให้มีผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ทุ่มเทงบประมาณ บุคคลากร นักวิจัย นักพันธุกรรม เทคโนโลยีการเพาะปลูก โดยรวบรวมพันธุ์ข้าวโพดในประเทศมาศึกษา รวมทั้งร่วมกับนักวิจัยต่างประเทศนำเข้าพันธุ์มาทดสอบ ปรับปรุงขยายพันธุ์ที่เหมาะกับสภาพอากาศเมืองไทย มีความทนทานต่อความแห้งแล้ง ทนต่อโรค แมลง
ซีพีใช้เวลาร่วม10ปีกับการวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดจนสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดซี.พี1ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ถึง900กก. ตามด้วยพันธุ์ซี.พี.707 เป็นพันธุ์ลูกผสมที่ให้ผลผลิตต่อไร่ถึง 1,000กก. พันธุ์ซี.พี. DK211เป็นสายพันธุ์ลูกผสมสามทางมีผลผลิตต่อไร่สูงถึง1,100กก.ตามด้วยพันธุ์ซี.พี.DK811ลูกผสมสามทางให้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,200กก.และซี.พี.DK 888 ลูกผสมเดี่ยวที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูงถึง 1,400กก.และ1ต้นให้ผลถึง2ฟัก ขณะที่ข้าวโพดทั่วไปจะออก 1ฟักต่อต้น ข้าวโพดพันธุ์ซี.พี.DK 888 ที่เป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน
และผู้ที่มีส่วนต่อความสำเร็จในการสร้างสายพันธุ์ข้าวโพดซี.พี888 ที่กล่าวขานกันมาคือดร.เอนก ศิลปพันธุ์ ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านการ วิจัยพันธุ์พืช กลุ่มพืชครบวงจร ดร.เอนกยังมีบทบาทต่อการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวจนได้รับรางวัล “ผลงานประดิษฐ์คิดค้นดีเด่น” ประจำปี 2541 ของ สภาวิจัยแห่งชาติ ผู้ให้กำเนิด เมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ผสม CP111 และเมล็ดพันธุ์ข้าวลูกผสมCP304 ปัจจุบันดร.เอนกเกษียณจากซีพีไปแล้ว
ที่มา:สารเจริญโภคภัณฑ์ กค.-ธค.2535