อาจจะมีคนถามว่าเครือซีพีให้ความสำคัญและมีบทบาทต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือไม่และทำอะไรไปบ้าง ขอให้ชาวซีพีภาคภูมิใจได้ว่าเครือซีพีให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมานาน20กว่าปีแล้ว
หากย้อนเวลากลับไปเมื่อปี 2538 จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์”สารเจริญโภคภัณฑ์”พบว่าเครือซีพีมีโครงการปลูกป่าสำคัญถึง 2โครงการนั่นคือ “โครงการปลูกป่าพระราชทานชัยพัฒนา-แม่ฟ้าหลวง” และ “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติใหลวงร.9ทรงครองราชย์ปีที่50” รวมกว่า1แสนไร่
สำหรับโครงการแรก จากสถานการณ์ปี 2536 ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าเหลือร้อยละ 26 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ในหลวงรัชกาลที่9 และสมเด็จย่าฯทรงห่วงใยต่อพื้นที่ป่าทรงมอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาและมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงเป็นแกนปลูกป่าเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มพื้นที่ป่าทั้งป่าอนุรักษ์ ป่าเศรษฐกิจ ป่าสำหรับประชาชน เครือฯได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากในหลวงรัชกาลที่9 และ สมเด็จย่าฯพระราชทานพื้นที่ในโครงการ 10,000 ไร่เพื่อดำเนินการปลูกป่า แบ่งเป็น
1.ป่าอนุรักษ์ในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทอน ต.ด่านศรีสุขอ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย จำนวน 500ไร่ 2.ป่าเศรษฐกิจเพื่อชุมชน ในพื้นที่เขตลุ่มน้ำแม่จีน-แม่สลอง อ.แม่จัน และกิ่งอำเภอแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกับโครงการพัฒนาดอยตุง จำนวน 3,000 ไร่ และในพื้นที่โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ที่ต.มหาไชย อ.ปลาปาก จ.นครพนม 25,000 ไร่ และที่บ้านบึงหล่ม ต.คลองน้ำไหลอ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร อีก 4,000 ไร่
และในปี 2539 ในหลวงรัชกาลที่9 จะทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 รัฐบาลได้ชวนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชนร่วมกันปลูกป่าถาวร ทั่วประเทศ 5ล้านไร่ เครือซีพีนำโดยประธานธนินท์ได้เข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารโครงการและรับเข้าร่วมปลูกป่า 100,000 ไร่ โดยเข้าเฝ้าฯรับพระราชทานไม้มงคลเป็นกล้าไม้ยางนาจากสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ซึ่งกล้าไม้นี้ เครือฯนำไปปลูกไว้ ณ ฟาร์มแสลงพัน มวกเหล็ก จ.สระบุรีเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537และยังปลูกกล้าไม้ยางนาเพิ่มอีก 150 ต้น
สำหรับโครงการปลูกป่าถาวรฯ เครือฯตั้งเป้าหมายปลูก 100,000ไร่ แบ่งเป็นป่าบก 90,000ไร่ และป่าชายเลน 10,000 ไร่ โดยป่าบกมีพื้นที่ปลูกที่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า อ.นครไทย พิษณุโลก และอ.ด่านซ้าย เลย 60,000ไร่ อุทยานแห่งชาติตาดหมอกเพชรบูรณ์ 20,250 ไร่ ป่าลุ่มน้ำแม่จัน-แม่สลอง เชียงราย 3,500ไร่ ป่าสงวนบ่อทอง-ท่าบุญมี ชลบุรี 3,200 ไร่ ป่าในอ.ท่าแซะ อ.ปะทิว อ.เมือง ชุมพร 2,500 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำใส สวนผึ้ง ราชบุรี 500 ไร่ ป่าสงวนแห่งชาติ พบพระ ตาก 50ไร่ ส่วนป่าชายเลนที่ตราด จันทบุรี สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง พังงา ตรัง นครศรีธรรมราชรวม10,000 ไร่
จากนั้นมาเครือฯโดยซีพีเอฟได้เริ่ม โครงการ “ซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มนํ้าป่าสัก เขาพระยาเดินธง” เป็นความร่วมมือ 3 ประสาน ระหว่างกรมป่าไม้ ซีพีเอฟ และชุมชนรอบพื้นที่เขาพระยาเดินธง โดยระยะที่หนึ่ง (ปี 2559-2563) สามารถอนุรักษ์และฟื้นฟูป่ารวม 5,971 ไร่ ปัจจุบันเข้าสู่การดำเนินงานระยะที่สอง (ปี 2564-2568) มีเป้าหมายยอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเพิ่มพื้นที่ป่าที่ปลูกใหม่เป็น 7,000 ไร่ นอกจากนี้ซีพีเอฟยังมีโครงการ ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน ระยะที่หนึ่ง (ปี 2557-2561) อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าที่ ต.บางหญ้าแพรกจ.สมุทรสาคร 604 ไร่ ปลูกป่าใหม่ 104 ไร่
จากผลสำเร็จของโครงการในระยะที่หนึ่งซึ่งมีผลเชิงบวก ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซีพีเอฟได้สานต่อความร่วมมือสู่ระยะที่สอง (ปี 2562-2566 ) อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนในพื้นที่จ.สมุทรสาคร 14,000 ไร่ และปลูกป่าใหม่ 266 ไร่ และยังมีโครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการทั่วประเทศรวม 1,720 ไร่
และในปี 2563 เครือฯก็ได้เริ่ม โครงการWE GROW ปลูกเพื่อความยั่งยืน เพื่อไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืนในปี 2030 พร้อมกับประกาศเจตนารมณ์ว่าการดำเนินธุรกิจของเครือฯทั้งหมดต้องสร้าง carbon neutral ด้วยการลดก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศให้เป็นศูนย์ ภายใน 10 ปีข้างหน้า”
โครงการ WE GROW ปลูกเพื่อความยั่งยืน ได้เริ่มที่ภาคเหนือก่อนตาม 4 พื้นที่ลุ่มน้ำปิง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่, ลุ่มน้ำวัง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง, ลุ่มน้ำยม อ.ปง จ.พะเยา และลุ่มน้ำน่านที่ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ในพื้นที่ 4 ลุ่มน้ำนี้ เครือฯได้ร่วมกับภาครัฐและชุมชนริเริ่มโครงการปลูกต้นไม้มาตั้งแต่ปี 2559 ควบคู่กับการสร้างอาชีพแก่ชุมชน ตอนนี้ปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 508,224 ต้น ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 6,000 ไร่”
กล่าวได้ว่าเครือซีพีได้มีส่วนปลูกป่า ปลูกต้นไม้เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ทศวรรษ ที่ผ่านมาถึงปัจจุบันและในอนาคต
CP Story เชื่อว่าข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้สังคมรับทราบการดำเนินงานด้านอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้านของเครือซีพี