กว่า 40 ปีที่แล้ว บ้านหนองหว้า อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่แห้งแล้งกันดาร ด้วยลักษณะภูมิประเทศเป็นหลังเต่า เต็มไปด้วยดินปนทรายเก็บน้ำไม่ได้ ทำการเกษตรปลูกอะไรแทบไม่ได้ มีเพียงแต่มันสำปะหลัง ผลผลิตที่ได้ก็น้อยนิด…แต่วันนี้กลับอุดมสมบูรณ์ เพาะปลูกอะไรก็งอกงาม
ย้อนไปราว ปี2516 ในหลวงร.9 ทรงเล็งเห็นว่า การปฏิรูปที่ดินเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินเป็นของตนเองโดยซีพีได้น้อมนำแนวพระราชดำริมาทำในรูปแบบหมู่บ้านเกษตรกรรมเมื่อปี พ.ศ.2520 เกษตรกรที่ถูกคัดเลือกมาในโครงการนี้ มาจากคนที่ไม่มีที่ดินทำกิน เป็นคนยากจนจริงๆ โดยนายอำเภอจะเป็นผู้คัดเลือกเกษตรกรเหล่านี้ ถึงแม้ผู้ที่ร่วมโครงการจะไม่มีผู้ค้ำประกัน แต่ธนาคารซึ่งเป็นผู้ปล่อยกู้เงินทุนค่อนข้างมั่นใจว่า หากเกษตรกรมีซีพีเป็นผู้ให้คำปรึกษาแล้วทุกอย่างจะราบรื่น เพราะซีพีการันตีราคารับซื้อแน่นอน ซีพีได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้นซึ่งเป็นเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกมาถ่ายทอดให้กับเกษตรกร แม้พวกเขาจะไม่มีความรู้ ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงสัตว์มาก่อนเลย
จากนั้นบริษัททำหน้าที่หาพันธุ์สัตว์ชั้นเยี่ยมจากสหรัฐอเมริกา หลังจากได้ผลผลิตมา บริษัททำหน้าที่หาตลาดให้กับเกษตรกร เท่ากับโครงการนี้เอาความเสี่ยงทั้งหมดมาอยู่ที่ซีพี
ผลปรากฎว่าผ่านไป 10 ปี จากเกษตรกรยากไร้ ไม่มีที่ทำกิน ก็สามารถเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทั้งหมด ได้มีที่ดิน 24 ไร่เป็นของตัวเอง จากไม่มีอาชีพก็สามารถเลี้ยงสุกรได้อย่างช่ำชอง จากไม่มีความรู้ก็สามารถรวมตัวกันจัดตั้งให้หมู่บ้านเป็นนิติบุคคล ในนาม “บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด” กลายเป็นโมเดลการพัฒนาคล้ายกับวิสาหกิจเพื่อสังคมในปัจจุบัน
Cr:ภาพ สำนักโสตทัศน์