เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 คณะทำงานด้าน Content100 ปีซีพีได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ดร.อาชว์ เตาลานนท์ รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ถึงสาเหตุการเข้ามาทำงานในเครือฯและบทเรียนจากการทำงานในเครือฯสะท้อนให้เห็นความเป็นองค์กรแห่งการเปลี่ยนแปลงของซีพีจนเติบโตมาถึงวันนี้ ซีพีมี6ค่านิยมมาตั้งแต่ยุคผู้ก่อตั้งและสืบสานจนตกผลึกเป็น 6ค่านิยมโดยท่านประธานอาวุโส อนาคตซีพีส่งต่อคนรุ่นใหม่นำ6ค่านิยมเป็นวิถีการทำงาน
สังคมและการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง
ทั้งนี้ ดร.อาชว์ บอกว่า ก่อนจะบอกถึงสาเหตุการตัดสินใจเข้ามาทำงานซีพี โดยชวนให้ชาวซีพีเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประเทศในช่วงที่ผ่านมาในเชิงประวัติศาสตร์ว่า ประเทศไทยที่เราทราบที่มีการเปลี่ยนแปลงจริงๆครั้งใหญ่ก็คือสมัยร.5 มีการปฏิรูปหลายอย่างและตรงกับสมัยเมจิของญี่ปุ่นซึ่งก็เปลี่ยนญี่ปุ่นเป็นหน้ามือเป็นหลังมือ สมัยร.5 ก็เป็นยุคที่เมืองไทยเปลี่ยนแปลงแล้วก็มาอีกครั้งปี 2475 แต่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางการเมือง และมาถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่2 ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอีกช่วงหนึ่ง ตัวที่ทำให้เปลี่ยนคือรถจิ๊ปของทหารสหประชาชาติ
เพราะว่าทำให้เกิดการคมนาคม เพราะสมัยก่อนประเทศไทย ถนนหนทางยังไม่มีเดินทางลำบากและเป็นลูกรังต้องใช้รถจิ๊ป เป็นตัวทำให้เปิดประเทศ รถจิ๊ปวิ่งไปถึงป่าและตอนนั้นประเทศไทยก็เริ่มที่จะปลูกมันสำปะหลังซึ่งไม่เคยมีในประเทศไทยต้องนำเข้ามา เราก็เริ่มที่จะส่งมันสะหลังไปขาย นอกจากข้าว ไม้สัก เกิดการถางป่า สมัยก่อน เลยจากศรีราชาเป็นป่าใหญ่ ฉะเชิงเทราก็เป็นป่าใหญ่ อย่างสระบุรีพอออกนอกสระบุรีก็เป็นป่าไม่มีถนนมิตรภาพ หลังสงครามโลกครั้งที่2ยุติลง ประเทศไทยต้องชดใช้ค่าประติมากรรมสงคราม สิ่งที่เราชดใช้ก็คือข้าว ไม้สัก สมัยนั้น บ้านเราไม่มีอุตสาหกรรม ไม่มีอะไร มีแต่ทุ่งนากับป่าสมัยนั้นถึงพูดกันว่าประเทศไทยในน้ำมีปลาในนามีข้าว มีคน17 ล้านคน อุตสาหกรรมที่มีคือโรงสีข้าว โรงเลื่อย โรงน้ำแข็ง
“ตอนผมมาเรียนจุฬาตอนนั้นป่าก็ยังมาก แต่ก็เริ่มหักร้างถากพงเป็นถนน หลังสงครามโลกจุดเปลี่ยนประเทศที่สำคัญคือปี2500 ตอนนั้นก็เรียนจุฬา เป็นปีที่จอมพลป.จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่และเป็นปีแรกที่นักศึกษาออกมาคัดค้านเลือกตั้งสกปรก นักศึกษาก็เดินขบวน ผมอยู่จุฬาปี2สนใจการเมือง ตอนนั้นเด็กรุ่นใหม่ก็สนใจการเมือง ตอนนั้นก็มีอิทธิพลทางการเมืองจาก2ขั้วมหาอำนาจ ต่อมาจอมพลสฤษดิ์ก็ทำการปฏิวัติ ขึ้นมาเป็นนายก ก็เป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทย เริ่มตั้งกระทรวงพัฒนาก่อนเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่1
ผมคิดว่านี่เป็นจุดเปลี่ยนของประเทศไทย เพราะแผนพัฒนาฯฉบับที่1เริ่มลงทุนในInfrastructure เริ่มตัดถนน เริ่มสร้างเขื่อน เริ่มทำไฟฟ้า เริ่มเอานักวิชาการเข้ามา ถนนมิตรภาพก็ตัดตอนนั้น ผมเรียนจุฬาไปดู เพราะตอนนั้นการสร้างถนนถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ ใช้เครื่องผสมยางมะตอยลาดเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่น่าตื่นเต้น นักเรียนวิศวะก็ต้องไปดูและผมจำได้ว่าไปดูแถวมวกเหล็กเพราะถนนตัดไปถึงมวกเหล็ก ปากช่องยังไม่มี ยุคจอมพลสฤษดิ์ก็ถือว่าเป็นยุคโครงสร้างพื้นฐาน ตามาด้วยทดแทนการนำเข้า อุตสาหกรรมเริ่มเกิด เริ่มมีโรงงาน โรงงานประกอบรถยนต์โรงแรกของประเทศไทย พอเรามีความสามารถ ทำเก่ง เหลือใช้ก็ทดแทนแรงงานและก็เริ่มส่งออกเพราะฉะนั้นปี2500ถือเป็นจุดเปลี่ยนของประเทศเป็นจุดของindustrialization ประเทศไทยก็เปลี่ยนจากเกษตรเป็นอุตสาหกรรม.”
ดร.อาชว์กล่าว่าที่เล่ามาทั้งหมดเพื่อให้เห็นว่าประเทศไทยสมัยก่อน อุตสาหกรรมไม่มี เศรษฐกิจพึ่งการส่งออกข้าว ไม้ พึ่งส่งออกมันสำปะหลัง ธุรกิจในบ้านเราก็เป็นธุรกิจของต่างประเทศมาลงทุนอย่างดีทแฮล์มหลุยส์ ตี. เลียวโนเวนส์ อีสต์เอเชียติก บีกริม ธุรกิจบ้านเราที่ก้าวหน้าก็เป็นบริษัทฝรั่งที่นำสินค้าเข้ามา อุตสาหกรรมของเราที่มีก็คือโรงปูนซิเมนต์ มีโรงงานแห่งเดียว เตาเผาที่บางซื่อ นอกนั้นก็เป็นธุรกิจค้าขาย
“และตอนนั้นผมเรียนจุฬาผมก็อยากเห็นว่าประเทศไทยควรจะมีอุตสาหกรรมผมเรียนคณะวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์ฯรุ่นที่2และเรียนวิศวอุตสาหกรรม 15คน วิศวรุ่นผม มี โยธา ไฟฟ้า เครื่องกล เหมืองแร่ เรียนโยธาก็ไปอยู่กรมโยธา แล้วอุตสาหการจะทำงานอะไร สมัยผมเรียนจบมาใหม่ๆก็ไปเป็นลูกจ้างอีสต์เอเชียติก ขายของ ผมจบหลัง2502 ตอนนั้นก็อยากเห็นบ้านเมืองเปลี่ยนแปลง อยากเห็นคนยากคนจนมีความเท่าเทียมกัน”
ก่อนและหลังร่วมงานซีพี
ดร.อาชว์เล่าเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยได้รับการช่วยเหลือจากอเมริกา มีองค์การกรรมกรระหว่างประเทศILOก็ส่งคณะเรียกว่าProductivity Mission เข้ามาเพื่อที่จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมในบ้านเรา ดูเรื่องพัฒนาผลผลิต ให้อุตสาหกรรมเกิด มีการส่งคนมาช่วยกระทรวงอุตสาหกรรม ตอนนั้นผมอยู่ต่างจังหวัดทำงานโรงกระสอบที่โคราช ผมทราบเรื่องคณะ Productivity Mission เข้ามาจาก ILO ก็เห็นว่าน่าสนใจ จะมาช่วยอุตสาหกรรม ผมเป็นนักเรียนอุตสาหการ ผมก็อยากจะมาทำผมก็เข้ามาเป็นรุ่นแรกทำProductivity ของ ILO ILO ก็มาอบรมมาสอนให้เข้าไปช่วยอุตสาหกรรม ปรับปรุง ทำ Productivity ปรับปรุงโรงงาน และตอนนั้นกระทวงอุตสาหกรรมก็ตั้งศูนย์เพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทยแล้วก็เลิกไป ตอนหลังถึงมาเกิดเป็นสถาบันเพิ่มผลผลิตฯ แต่ผมก็เป็นคนรุ่นแรกของศูนย์เพิ่มผลผลิตฯ ผมเป็นพนักงานเบอร์1และILOก็ให้ทุนผมไปฝึกงาน เป็นคอนซัลแทนที่ออสเตรเลียแล้วก็กลับมาช่วยปรับปรุงงานในโรงงาน
“ตอนนั้นคนที่สนใจเรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรม ปรับปรุงงาน สนใจเรื่องพัฒนาการบริหารก็มีแต่บริษัทฝรั่ง อย่างดีทแฮล์ม อีสต์เอเชียติก และกลุ่มที่สอง นอกจากบริษัทการค้าก็มีพวกบริษัทน้ำมัน บริษัทน้ำมันตอนนั้นถือว่าเป็นบริษัทที่มีการบริหารงานที่ทันสมัย ที่ดังสุดก็มีเชลล์ โมบิลออยตอนหลังมาเปลี่ยนเป็นเอสโซ่ คาลเทกซ์ มีน้ำมัน3ทหารของกระทรวงกลาโหม บริษัทไทยแทบไม่มี ปูนซิเมนต์ก็เริ่มที่จะปรับตัวเดิมเป็นของฝรั่งเป็นคนทำ ตอนหลังปูนซิเมนต์ไปเชิญคนจากบริษัทน้ำมันมาอยู่ ขณะเดียวกันปูนซิเมนต์ก็มาเป็นลูกค้าของศูนย์เพิ่มผลผลิต”
“หลังจากนั้นก็มีการตั้งเป็นสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทยขึ้นมาเพื่อที่จะทำเรื่องการอบรม เรื่องการบริหาร การจัดการ ตอนหลังมีสมาคมอื่นๆตามมาเช่นสมาคมการจัดการบุคคล สมาคมการตลาด เพราะสมัยก่อนประเทศไทยก็ไม่มีเรื่องการบริหารบุคคล ไม่มีเรื่องการตลาด ไม่รู้จัก สมัยนั้นคณะบริหารธุรกิจก็ยังไม่มี สมัยก่อนผู้จัดการอาชีพไม่มี คนที่เป็นผู้จัดการบริษัทก็จะเรียกตัวเองว่า เป็นนักกฎหมาย เป็นนักบัญชี ตอนหลังก็มาให้ความสำคัญเรื่องการตลาด เรื่องพวกนี้บริษัทไทยๆก็ยังไม่ค่อยมี มีบริษัทคนจีน อย่างเจียไต๋ ซึ่งก็เจริญเติบโตแล้ว เป็นบริษัทครอบครัว นอกจากเจียไต๋ก็มีสยามกลการ สหพัฒน์ก็เริ่มเกิดขึ้นโดยคุณเทียมทำธุรกิจนำเข้าสินค้ามาขาย โอสถสภาทำยาทัมใจ ห้างขายยาอังกฤษตรางู ก็เริ่มตื่นตัวที่จะปรับปรุง”
ดร.อาชว์กล่าวว่าที่เล่ายาวมาก็จะมาพูดถึงจุดนี้ เจียไต๋ ซีพี ซึ่งมีหลายบริษัทอย่าง บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ บริษัทกรุงเทพอาหารสัตว์ บริษัทกรุงเทพค้าสัตว์ บริษัทฟาร์มกรุงเทพซึ่งผมยังไม่รู้จักซึ่งตรงนี้ประธานธนินท์ก็สนใจว่าจะทำอย่างไรที่จะพัฒนา ปรับปรุง ผมคิดว่าอันนี้ต้องถือเป็นวิสัยทัศน์ของท่านประธาน
ซึ่งตอนนั้นท่านยังไม่ได้เป็นประธาน ตอนนั้นท่านเป็นผู้อำนวยการ ตอนนั้นแยกเป็นบริษัทก็ไม่ได้เป็นเครือ เป็นเอกเทศกัน มีผู้จัดการดูแลต่างหาก ด้วยวิสัยทัศน์ประธานธนินท์ท่านก็อยากให้มีการรวมกลุ่มให้เป็นเครือให้มีการบริหารที่มีทิศทางเดียวกัน ให้มียุทธศาสตร์ร่วมกัน ท่านก็ถึงไปตามผม ตอนนั้นผมก็ออกจากศูนย์เพิ่มผลิตฯมาอยู่สมาคมการจัดการฯ ผมก็เป็นExecutive DirectorหรือCEO สมาคม ตอนนั้นซีพี ก็ให้สมาคมฯมาจัดสัมมนาที่สวนสามพราน
“แต่ก่อนซีพีไม่ได้มาอยู่ในแวดวงการฝึกอบรมพัฒนาเหมือนอย่างบริษัทต่างชาติ ซีพีเป็นบริษัททำการค้า แต่ก็เริ่มมาสนใจมาสัมมนากับสมาคมฯเป็นครั้งแรก แต่ผมก็ได้ยินก่อนที่จะมาซีพี ตอนนั้นในพวกที่อยู่ในแวดวงสัมมนา กรรมการสมามคมด้วยกันก็เริ่มพูดถึงซีพี เพราะตอนนั้นประเทศไทยเริ่มพัฒนาแล้ว เริ่มอุตสาหกรรมราวๆ 20ปีหลังปี 2500 เราเริ่มส่งออก ประเทศไทยก็เฟื่องฟู ภูมิใจว่าประเทศไทยจะเป็นเสือตัวที่5 ก็มีการพูดกันถึงช่องว่าง คนจนคนรวย ภาคเกษตรตามไม่ทัน อุตสาหกรรมก็เติบโต ภาคการเกษตรยากจน ตามไม่ทัน จะทำอย่างไร
ในวงการด้านสัมมนาก็พูดกันว่ามีบริษัทหนึ่งเข้าไปช่วยพัฒนาการเกษตร เป็นครั้งแรกที่ผมได้ยินซีพีไปช่วย มีวิธีการใหม่ที่จะช่วยเกษตรกร มีการพูดว่าคนเข้าไปก็มักจะเอาเปรียบเกษตรกร บริษัทขายปุ๋ย ขายยา เอาเปรียบเกษตรกร สมัยก่อนจะมีละครที่มักแสดงว่าพระเอกเป็นลูกชาวนา เป็นคนจน นางเอกก็มาจากครอบครัวที่ดี ตัวผู้ร้ายจะเป็นลูกพ่อค้า ชาวนา คนยากจนมักจะถูกเอาเปรียบ ก็มีการพูดกันว่าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์เข้าไปช่วยเรื่องการเลี้ยงไก่และก็ตอนนั้นแบงก์ชาติเริ่มมาดู สมัยอาจารย์เสนาะอยู่แบงก์ชาติ ผมเพียงแต่ได้ยินมาแค่นี้ จนมาเจอประธานธนินท์
ตอนนั้นผมไปอยู่สมาคมแล้วและช่วยเป็นคอนซัลแทนสหยูเนี่ยน ประธานธนินท์ก็บอกว่าให้มาอยู่ซีพีคุณจะช่วยคนยากคนจน ก็ถูกใจผม ตรงกับอุดมการณ์ที่อยากจะช่วยคนจน ตอนนั้นซีพีเป็นบริษัททำอาหารไก่และเลี้ยงไก่ ส่งเสริมเลี้ยงไก่ ประธานธนินท์ก็บอกว่าคุณมาอยู่ซีพีคุณจะช่วยคนยากคนจน ผมสนใจ ผมเชื่อ ผมถึงมา ที่เล่าทั้งหมดก็เพื่อจะมาพูดตรงนี้”
เรียนรู้การตกผลึก 6ค่านิยมซีพี
ดร.อาชว์กล่าวอีกว่าไม่แปลกใจ มาตระหนักตอนหลังว่าที่ซีพีเติบโตมาเพราะซีพีเชื่อในการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงเป็นชีวิต เป็นวัฒนธรรมของซีพี การเปลี่ยนแปลงนำไปสู่การเกิดนวัตกรรมไปสู่สิ่งใหม่ๆและธุรกิจใหม่ๆ ทำให้ซีพีขยายตัว เจริญเติบโตมากมาย ผมมาตระหนักว่าเพราะประธานธนินท์ต้องการเปลี่ยนแปลง และต้องการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานของเครือฯในเวลานั้น นี่เป็นความเข้าใจของผม เพราะเวลานั้นเครือเป็นบริษัทๆแยกกัน ประธานธนินท์ก็อยากจะให้รวมกันเป็นเครือฯ ถ้าเป็นสมัยนี้เรื่องก็ไม่มีอะไรที่แปลก แต่การทำเป็นเครือสมัยนั้นจะทำได้ต้องเปลี่ยนAttitude การจะเขียนชาร์จ โครงสร้างใหม่ของเครือฯไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่สิ่งที่จะทำให้คนเปลี่ยนจากการดำเนินธุรกิจเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเองก็ต้องเปลี่ยนAttitude
“ ผมเชื่อว่าท่านประธานกล้าหาญมากและมีวิสัยทัศน์ที่จะเปลี่ยนและประธานธนินท์ก็ไปเปลี่ยนAttitude-ของผู้บริหารในเครือซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ผมก็มองว่านี่คือความท้าทายและก็สะท้อนมาเป็นค่านิยมของเครือในตอนหลังๆ ซึ่งมีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื่อในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง เชื่อในเรื่องของการทำเรื่องใหม่ เชื่อในเรื่องของการทำที่ยากให้ง่าย ซึ่งการเปลี่ยนAttitudeคนไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย ผมก็เชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่ามันอยู่ในความคิดของท่านประธานธนินท์”
“แต่สิ่งที่ทำ นอกจากจะมาทำเรื่องโครงสร้างให้เป็นเครือ สิ่งที่ทำให้เป็นรูปธรรม จัดให้มีคณะกรรมการบริหารให้ผู้บริหารต่างๆได้เข้ามาเป็นคณะกรรมการบริหาร และแต่ละเดือน แต่ละไตรมาสมาแชร์ข้อมูลมาพูดกัน ซึ่งสมัยก่อนจะมาพูดข้อมูลขาย กำหไร ซึ่งถือว่าเป็นความลับก็ไม่ใช่เรื่องง่าย สมัยก่อนอาจะพูดไม่ได้
ฉะนั้นการที่มาพูด มารายงาน ยอดขาย ต้นทุน กำไร เอามาคุยมาแลกเปลี่ยนและก็ต้องทำงบประมาณแต่ละปี จะทำแบบนี้ก็ต้องมีระบบงบประมาณประจำปี มีการลงทุน ถึงเวลาก็มารายงานผล ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ก็เป็นเรื่องที่ทำกันในปัจจุบัน ตอนนั้นก็มีท่านประธานจรัญ ท่านมนตรีท่านสุเมธ ประธานธนินท์ คุณเชิดชัย คุณวัลลภ คุณประเสริฐ คุณมิน
หลังจากนั้นก็มีคนนอกเข้ามาอย่างผม ดร.วีรวัฒน์ ท่านจินดา ยิมเรวัต ยังจำได้ ประชุมครั้งหนึ่งใช้เวลายาวนาน เวลาพูดงบประมาณก็ไล่รายละเอียด ประชุมกันที่ตรอกจันทน์ แล้วก็ค่อยย้ายมาอาคารทวิช ตอนนั้นก็วางระบบต่างๆ ทั้งระบบงานบุคคล มีระบบงบประมาณ มีระบบรายงาน มีการติดตามผล มีการตั้งหน่วยงานที่จะช่วยแนะนำเรื่องการทำงบประมาณ การเงิน ระบบการปรับปรุงประสิทธิภาพ ทำต่อเนื่องกันมา รวมทั้งเรื่องประชาสัมพันธ์”
“แต่สิ่งที่ผมคิดว่ายากคือการตัดสินใจของท่านประธาน เปลี่ยนการยอมรับ ทัศนคติ จากการบริหารงานที่เป็นเอกเทศ ก็ใช้เวลาในการปรับเปลี่ยน-2-3ปี ตอนนั้นท่านก็เป็นผู้อำนวยการ ผมเป็นรองผู้อำนวยการ
ผมก็ได้เรียนรู้จากท่านประธานในแง่ของแนวคิด ท่านเป็นคนมองไกลมาก มีวิสัยทัศน์มาก ตอนที่เริ่มเลี้ยงไก่ศรีราชาเพิ่งเริ่มต้นก็ไปดู เริ่มเข้าใจที่ท่านประธานบอกไปช่วยเกษตรกร จุดแรกที่ไปดูเลี้ยงไก่ที่ศรีราชาก็รู้สึกประทับใจ ลุงแถม ลูกสาวลุงแถมทำแล้วทำไมเค้าเลี้ยงไก่2หมื่นตัวได้ผลสำเร็จ ไปสร้างโรงเรือน มีรายได้ ลืมหน้าอ้าปากผมก็มีความเชื่อมั่นว่า นี่แหละซีพีช่วยเกษตรกรจริงๆ ผมก็ยิ่ง มีความยึดมั่น ประทับใจว่าสิ่งที่ท่านประธานพูดมันจริงว่าซีพีได้ช่วยเหลือเกษตรกรจริงๆ “
“จากนี้ก็ไปทำหมู่บ้านเกษตรกรหนองหว้า ท่านก็ไปพาดร.หยีจากไต้หวันมาเริ่ม ท่านก็บอกว่าไปเอารูปแบบของไต้หวัน ดร.หยีเป็นคนทำ ไปจัดที่เป็นที่หลังเต่า ชาวบ้านปลูกมันสำปะหลังจนดินเสื่อมโทรม เราก็ไปเอาที่ตรงนั้นมาและเดได้เงินกู้จากแบงก์กรุงเทพ คุณชูศักดิ์ หิมะทองคำปล่อยสินเชื่อภาคการเกษตรมา ได้นายอำเภอทิวาอยู่ที่ฉะเชิงเทราไปช่วยรวบรวมเกษตรกร เอาเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินหรือยากจนมาแล้วเราก็จัดที่ให้ แปลงละ 20 ไร่ และ 5 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกบ้าน ปลูกบ้านให้เกษตรกรอยู่ แล้วให้เกษตรกรทำ
ตอนนั้นก็เริ่มปลูกข้าวโพด ปลูกอะไรต่ออะไรแล้วก็มาส่งเสริมให้เลี้ยงหมู ตอนนั้นเราก็เริ่มต้นศึกษาเรื่องหมู ซึ่งเรายังไม่สำเร็จ ให้เกษตรกรผ่อน 7ปีก็เป็นของเกษตรกร ผมก็มีความประทับใจ เชื่อมั่นว่าซีพีได้ทำคุณประโยชน์ให้กับคนยากคนจนจริงๆ ขนาดคนไม่มีที่ดินทำกิน จน ไม่รู้จะทำอะไรก็ไปช่วยเค้าให้มีรายได้ ลืมหน้าอ้าปาก การันตีรายได้ ไปช่วยชาวบ้านที่ศรีราชาที่ปลูกมัน ยากจนก็ไปช่วยให้มีอาชีพเลี้ยงไก่จนมีรายได้”
“ ผมก็รู้สึกซาบซึ้งมาก ตอนนั้น จากหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้าก็ไปทำที่แสลงพัน ตรงนั้นก็ทำคล้ายกับสหกรณ์ แตกต่างกับหนองหว้า หนองหว้าแต่ละครอบครัวก็มีของตนเอง เลี้ยงหมูของตัวเอง แต่ที่แสลงพันก็ทำ ซึ่งตอนหลังก็เอาไปทำโครงการผิงกู่ที่จีน รวมกันคล้ายสหกรณ์ แต่ตอนที่ทำที่แสลงพัน ยังไม่สำเร็จ เพราะว่าเอามารวมกัน ชาวบ้านก็ส่งตัวแทนมาทำงาน ก็ขยันบ้าง ไม่ขยันบ้างก็เลยไม่ค่อยดี ก็เลยไปทำหมู่บ้านอีกหมู่บ้านที่กำแพงเพชร กำแพงเพชรก็ทำคล้ายๆหนองหว้า
แต่ละคนมีที่ดินเป็นของตัวเอง ผมก็ตามไปได้ทำ แล้วก็ที่กำแพงเพชรพอเริ่มทำหมู ก็เริ่มอินทิเกรทมาเรื่องข้าวโพดเพราะว่ามันเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ จะปลูกข้าวโพดที่ทันสมัย เพราะตอนนั้นข้าวโพดบ้านเรามีผลผลิต450 กิโลกรมต่อไร่ แล้วก็มาข้าวโพดพันธุ์สุวรรณก็ได้ 600-700กิโลกรัมต่อไร่ก็ดูดี แต่ยังไม่ดีเท่ากับที่เราไปดูของดีคาล์ปๆปลูกได้พันกว่ากิโลกรมต่อไร่ เป็นพันธุ์ลูกผสม เราก็ไปติดต่อเรื่องพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ ในขณะเดียวกันเราก็สนใจการปลูกแปลใหญ่
ประธานก็ไปดูของบริษัทโดล ผมก็ไปกับท่านที่อเมริกา ไปดูโดลๆก็เป็นบริษัทคล้ายๆที่ปรึกษาทางเกษตรให้ข้อมูล แนะวิธีการเพาะปลูกที่ทันสมัยแล้วก็รับจ้างดูแล คือเกษตรกรมีที่ดิน แต่ไม่ต้องลงมือทำ ในอเมริกาคุณมีที่ดินแต่ไม่ทำเองก็ไปจ้างโดลๆก็มารับจ้างทำ โดยใช้ความรู้ อุปกรณ์ มีคนมารับจ้างทำที่กำแพงเพชร ก็ทำระบบชลประมาทาน โดลก็มาบริหาร ปลูกข้าวโพด ที่ท่านประธานมักจะเล่าว่าปลูกปีแรก ก็หนูมากิน เพราะว่าไปปลูกในหน้าแล้งพื้นที่รอบแห้งแล้งหมด แต่ของเรางอกงาม คนอื่นไม่มีหนูก็เลยแห่มากิน อีกปีน้ำท่วม เราเคยศึกษาระดับน้ำ ว่าสูงสุดแค่ไหนแล้วก็ทำเขื่อนรอบแล้ว ปรากฏว่าน้ำมามากกว่าเขื่อนที่เราทำน้ำท่วมหมดก็ขาดทุน
ท่านประธานบอกไม่เป็นไร ท่านก็มีวิสัยทัศน์ท่านก็ได้ความคิดว่าทำไมต้องมาปลูกข้าวโพดขายเมล็ด ท่านก็เลยปลูกเมล็ดพันธุ์ ท่านก็ทำเมล็ดพันธุ์ ตอนนั้นข้าวโพดกิโลละ5-6บาท ท่านก็ทำเมล็ดพันธุ์กิโลละ70-80บาท และเมล็ดพันธุ์ที่เอาไปปลูกได้ผลผลิต1,200กิโล เราก็โอเค เกษตรกรก็โอเค แทนที่จะปลูกไร่หนึ่งได้แค่400กิโล ท่านสุดยอด ท่านก็ลงทุน เชื่อในเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นค่านิยมมันมากับตัวท่าน
“เรื่องการเปลี่ยนแปลง เรื่องการทำสิ่งที่ยาก ท่านเชื่อเรื่องการเปลรี่ยนแปลงท่านก็ทำเรื่องใหม่ ท่านก็ทำเรื่องที่ที่มันยากให้มันง่าย ท่านก็ทำเร็ว เพราะฉะนั้นทุกออย่าง ค่านิยมมันมาหมดและผมก็เชื่อมั่นว่าท่านทำในพื้นฐานที่มีคุณธรรมเพราะท่านก็ไปช่วยเกษตรกร ผมศรัทธาเพราะท่านช่วยเกษตรกรลืมหน้าอ้าปาก ช่วยให้เกษตรกรหายจน เพราะฉะนั้น ค่านิยมทั้งหมดอยู่ในตัวท่าน”
ดร.อาชว์บอกว่าท่านประธานเล่าเรื่องที่มาของการเลี้ยงไก่ของท่านจะเห็นว่าท่านลองผิดลองถูกเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก ตั้งแต่ท่านเลี้ยงไก่ ท่านมักจะเล่าถึงฟาร์มรุ่งรัตน์ๆเค้ามีตระกร้า ดีไซน์ตระกร้าเก็บไข่เดินจากต้นเล้าไปถึงปลายเล้าเก็บๆๆๆได้ตระกร้าหนึ่งพอดี ถ้าตระกร้าไม่พอดีเก็บเดี๋ยวก็เต็มก็ต้องเดินย้อนไปย้อนมา คนเก็บก็เริ่มขี้เกียจเก็บไข่ ท่านก็ลอง แล้วท่านก็ทดลองเลี้ยงไก่ตั้งแต่ท่านทำอาหารสัตว์ ทีแรกก็ขายวัตถุดิบอาหารสัตว์ ขายข้าวโพด ตอนหลังก็มาตั้งโรงงานอาหารสัตว์ก็ผสมทำเป็นอาหารเรียกว่าอาหารผสมจากอาหารผสมมาสมัยท่านประธานก็มาพัฒนาอาหารทั้งปลาป่นไปแข่งกับคู่แข่งเอากระดาษมาใส่แทนปลาป่น ท่านก็ไปสู้
จนท่านทำอาหารสัตว์สำเร็จ ท่านก็คิดว่าทำอย่างไรถึงจะขายอาหารสัตว์ให้ได้มากขึ้น ท่านก็ไปดูว่าถ้าจะทำอาหารสัตว์ให้มากขึ้นก็ต้องไปส่งเสริมคนเลี้ยงไก่ให้มากขึ้น ถ้าคนเลี้ยงไก่เลี้ยงไก่มากขึ้นและเลี้ยงสำเร็จก็จะขายอาหารไก่ได้มากขึ้น ท่านก็เลยลงไปดูว่าจะเลี้ยงไก่อย่างไรท่านก็ไปดูว่า สมัยก่อนชาวบ้านเลี้ยงไก่พื้นบ้านก็เลี้ยง20ตัว 30ตัวก็ยากไม่น้อยกว่าจะเลี้ยงสำเร็จ ถ้าเลี้ยง100ตัว200ตัวก็ยิ่งเป็นExpert เพราะคนเลี้ยงไก่สมัยนั้นก็ต้องเพาะฟักไก่เอง คุณก็ต้องมีความรู้เรื่องฟักลูกไก่
คุณก็ต้องมีความรู้เรื่องผสมอาหารไก่ เพราะไม่มีอาหารสำเร็จตอนนั้น คุณก็ต้องมีความรู้เรื่องNutrition ต้องมีความรู้เรื่องพันธุ์ไก่ ต้องมีความรู้เรื่องโรคไก่ ให้ยา วัคซีนก็ต้องมีความรู้ และก็ต้องมีความรู้จะเลี้ยงอย่างไรให้เติบโตเร็ว หลายเรื่อง เลี้ยงไก้jเสร็จก็ต้องอีกว่าจะไปขายอย่างไรหรือทั้งหมดทุกอย่างแตjไม่มีเงินทุน เกษตรกรก็จะเจอเรื่องยุ่งยากอย่างนี้
“ท่านก็เล่าว่าแต่ละอย่าง เริ่มรู้จักอาร์เบอร์เอเคอร์นำเข้าพันธุ์ทดลองหลายพันธุ์ ท่านก็ทดลองก็เห็นว่าไก่พันธุ์อาร์เบอร์เอเคอร์ดี ท่านก็วิ่งไปอเมริกาโดย เดวิด ร็อกกี้เฟลเลอร์แนะนำให้ท่านไป ท่านก็พาคุณพิเชษฐ์ เหล่าเกษมไปไปเอาไก่พันธุ์อาร์เบอร์เอเชคอร์แล้วก็หุ้นกับอาร์เบอร์เอเคอร์ทำพันธุ์เราถึงได้พันธุ์แล้วท่านก็ไปดูวิธีการเลี้ยง ท่านก็เห็นวิธีการเลี้ยงแบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งของอเมริกาที่ดี เกษตรกรก็ไม่ต้องผสมอาหารเอง เกษตรกรก็เลี้ยงอย่างเดียว บริษัทรับผิดชอบ ท่านก็ไปเอารูปแบบนี้มาจากอเมริกา
แต่ท่านก็มาเพิ่มเติม เพราะว่าเกษตรกรอเมริกามีเงิน แต่เกษตรกรเราไม่มีเงิน ท่านยังต้องการีนตีเงินกู้ให้เกษตรกรเป็นที่มาของจุดเริ่มต้นที่ศรีราชา และทำไมต้องไปศรีราชา เพราะศรีราชาไม่ไกลจากกรุงเทพ ไม่ไกลตลาด ประการที่2ศรีราชาอากาศดีเพราะอยู่ใกล้ทะเล มีลมทะเลไม่ร้อนจัด ประการที่3เพราะศรีราชาแห้งแล้ง มีการปลูกมันสำปะหลัง เกษตรกรต้องไปซื้อขี้ไก่จากฉะเชิงเทรามาใส่ท่านก็เห็นว่าขี้ไก่จากฟาร์มไก่ก็สามารถเป็นประโยชน์ต่อไร่มันสำปะกลัง ต้องฟังจากท่านเล่าจะสนุกมาก”
“และพอเลี้ยงไก่เสร็จ สมัยก่อนไก่ต้องขายเป็นไก่เป็นตัวๆไม่มีโรงฆ่า ท่านก็บอกว่าทำอย่างไรให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่เพิ่มขึ้นก็ต้องมีโรงฆ่า ชาวบ้านถึงจะสามรถฆ่าแล้วเอาไปขายได้ก็เกิดการต่อยอด เราถึงไปตั้งโรงฆ่าโรงแรกกรุงเทพค้าสัตว์ พอเข้าโรงฆ่าเสร็จไก่ก็ออกมาเป็นตัวๆ ทำอย่างไรถึงจะให้คนบริโภคไก่มากขึ้น ท่านก็คิดถึงเรื่องการแปรรูป เป็นชิ้นส่วน ท่านคิดเป็นฉากๆ แล้วจะทำอย่างไรให้ตลาดโตขึ้น ท่านถึงคิดเรื่องส่งออกก็สามารถส่งออกไปญี่ปุ่นซึ่งตอนนั้นญี่ปุ่นไม่ให้เข้า ต้องเจราจาอยู่หลายปี เพราะว่าญี่ปุ่นถูกอเมริกาบีบ ต้องนำเข้าไก่จากอเมริกา
ผมยังตามท่านประธานไปญี่ปุ่น ไปเจรจาเรื่องนี้ และให้เราเข้า เพราะเราส่งออกไก่เป็นชิ้นส่วน ขณะที่อเมริกาส่งออกไก่ให้ญี่ปุ่นเป็นตัว เพราะว่าอเมริกามีค่าแรงแพงไม่มีการชำแหละส่งไก่เป็นตัวมา แต่เรามีโรงงานชำแหละ เราก็ได้เปรียบ ญี่ปุ่นถึงยอม จะเห็นว่าทุกอย่างที่ท่านคิดมี Logic สิ่งที่ท่านทำมันยากทุกเรื่องและท่านเปลี่ยนทุกเรื่องและทำให้เห็นว่าค่านิยมทุกข้ออยู่ในตัวท่าน เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลง แล้วก็คิดเรื่องใหม่ เปลี่ยนนี่คือค่านิยมข้อที่4 คิดเรื่องใหม่คือข้อที่5 แต่เรื่องใหม่มันเป็นเรื่องที่ยากก็คือค่านิยมข้อที่3 เรื่องยากทำให้ง่าย และต้องทำให้เร็ว ค่านิยมข้อที่2 ทำให้เร็วและมีคุณภาพ ทั้งหมดทั้งสิ้นท่านทำโดยอยู่บนคุณธรรม ทำความดี มีความซื่อสัตย์ก็คือค่านิยมข้อที่ 6 ทำแล้วเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยคนยากคนจน ช่วยประชาชน ช่วยบริษัทก็คือค่านิยมข้อที่1 จะเห็นว่ามันอยู่ในค่านิยมทุกข้อ ซึ่งอยู่ในจิตสำนึกของท่านประธานอาวุโส แต่ละเรื่องที่ท่านทำอยู่ในค่านิยมของซีพี”
ค่านิยมไม่ใช่เป็นคำขวัญ 6ค่านิยมเป็นจิตวิญญาณของเครือ
ดร.อาชว์กล่าวว่าความจริงแล้วหากพิจารณา 6 ค่านิยมเกิดมาตั้งแต่สมัยคุณพ่อของท่านประธานธนินท์ เกิดมาพร้อมกับเครือเมื่อ100ปี ทำไมผมถึงพูดแบบนี้เพราะว่าสมัยคุณพ่อของท่านที่ทำเมล็ดพันธุ์ ความที่คุณพ่อของท่านเป็นคนมีคุณธรรม ซื่อสัตย์ เห็นใจลูกค้าซึ่งเป็นเกษตรกรปลูกผัก เกษตรกรซื้อพันธุ์ผักท่านไปซองหนึ่ง แต่จะงอกหรือไม่งอกก็ต้องรอ120วันถึงจะรู้ ปลูกไม่งอกเกษตรกรก็ขาดทุน ลงทุนไป120วัน คนขายอาจไม่สนใจขายได้เงินไปแล้วก็จบ แบบพ่อค้าสมัยก่อนที่ว่าขายแล้วขายเลย แต่ความที่มีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ต่อเกษตรกร เห็นใจคนยาก คนจนกว่าจะรู้ว่าปลูกขึ้นหรือไม่ขึ้นตั้ง 120 วันและถ้าปลูกไม่ขึ้นก็ขาดทุน ความที่มีคุณธรรม ท่านถึงได้พิมพ์วันที่หมดอายุลงไป ซึ่งถ้าเป็นสมัยนี้ก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่สมัยก่อนไม่มีใครคิดนะ ไม่มีใครทำและไม่มีใครรับผิดชอบ
แต่ด้วยคุณธรรม จึงพิมพ์วันที่ลงไปและยิ่งกว่านั้นยังระบุว่าเมื่อหมดอายุให้เอามาเปลี่ยน ไม่ใช่แต่บอกว่าหมดอายุแล้วอย่าปลูก เมื่อหมดอายุแล้วให้เอามาเปลี่ยน เอามาคืนและตอนหลังมาใส่กระป๋องเพื่อรักษาคุณภาพ นี่ก็เป็นนวัตกรรมในสมัยนั้น ด้วยคุณธรรมและความซื่อสัตย์ทำให้คิดนวัตกรรม ผมก็ถือว่านี่คือนวัตกรรมชิ้นแรกของเครือฯและด้วยความเชื่อในเรื่องของเทคโนโลยี ของใหม่ การเปลี่ยนแปลง ท่านถึงทำตราเรือบิน เพราะเรือบินสมัยเมื่อ100ปีเป็นของใหม่ ท่านถึงทำตราเรือบิน อันนี้มาตั้งแต่ยุคคุณพ่อของท่านแล้วและตกทอดกันมา ท่านประธานก็มาต่อยอด มาทำเรื่องการเปลี่ยนแปลงอะไรต่ออะไรก็อยู่ในวิถีชีวิต
“6ค่านิยมไม่ใช่เป็นคำขวัญ ผมคิดว่า 6ค่านิยมเป็นจิตวิญญาณของเครือ ไม่ใช่เป็นเพียงคำขวัญที่ให้ใครมาท่องจำ มันเป็นวิถีในการปฏิบัติและเราก็ได้ปฏิบัติตามวิถีนี้จนเราได้ขยายเติบโตมาจนถึงทุกวันนี้และผมก็เห็นว่าคนที่นำในการปฏิบัติก็คือประธานอาวุโสทำจริง ท่านทำจริงและสิ่งที่ทำอยู่ทุกวันนี้ แม้กระทั่งคนรุ่นใหม่อย่างพวกเถ้าแก่น้อยเราก็ให้ปฏิบัติตามค่านิยม แต่เค้าอาจไม่รู้ตัว เค้าได้ลองผิดลองถูก ให้คุณเปลี่ยนแปลง คุณจะลองผิดลองถูกคุณก็ต้องเชื่อในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง คุณก็เปลี่ยนธุรกิจที่คุณเข้าไปดู คุณก็ทำเรื่องใหม่ ทำเรื่องยากและเร่งรีบทำ เค้าอาจจะไม่รู้ตัว และ6ค่านิยมเราถึงมีโครงการพอใจวันเดียวที่เอยากให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร ไม่อยากให้คุณต้องมาท่องจำหรือบังคับตัวเอง อยากให้ทำเป็นวิชีวิตประจำวันถึงจะเป็นวัฒนธรรม ปรับปรุงงานของทุกคน ปรับปรุงทุกวัน ถ้าคุณเชื่อในเรื่องของการเปลี่ยนแปลง คุณก็ทำ คุณก็เปลี่ยน ที่คุณทำวันนี้ให้มันดีขึ้นก็แปลงว่าคุณก็เปลี่ยน โดยที่คุณพอใจเฉพาะวันนี้ พรุ่งนี้คุณจะไม่พอใจก็คือสิ่งที่ท่านประธานพูดถึง ถึงให้ชาวซีพีทำโครงการพอใจวันเดียวเพื่อปลูกฝัง6ค่านิยมมาใช้และถ้ามันอยู่ในจิตวิญญาณ อยู่ในชีวิตประจำวันของพนักงานส่วนใหญ่มันก็จะเป็นวัฒนธรรมขององค์กรและคุณก็ได้ทำเรื่องนี้อย่างจริงจังตามที่ท่านประธานปฏิบัติอยู่”
ฝากข้อคิดคนรุ่นใหม่
ดร.อาชว์กล่าวอีกว่าท่านประธานธนินท์เป็นคนเรียนรู้ตลอดเวลา คนรุ่นใหม่ก็เรียนรู้ตลอดเวลา เหมือนที่ท่านพูดถ้าคุณยอมรับการเปลี่ยนแปลงคุณก็จะเปลี่ยน คุณก็จะเรียนรู้ใหม่ เพราะคุณต้องเปลี่ยนและคุณก็ต้องเรียน เพราะฉะนั้นคีย์อยู่ตรงนี้คือคุณยอมรับการเปลี่ยนแปลง ชีวิตคุณก็จะเปลี่ยนและคุณก็จะเรียนรู้เรื่องใหม่ คุณก็จะทำเรื่องใหม่ แต่ทั้งหมดทั้งสิ้นต้องอยู่ภายใต้หัวใจที่มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ มีความกตัญญู พอหัวใจคุณดี ความคิด ทัศนคติคุณก็จะดี สมองคุณก็จะคำนึงถึง3ประโยชน์ มันจะเป็นแบบนี้ คุณจะเริ่มจากใจ มีคุณธรรมมันก็จะนำไปสู่สมอง สู่ทัศนคติที่เห็นประโยชน์ของคนอื่น เห็น3ประโยชน์ การกระทำของคุณคุณก็จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทำเรื่องใหม่ ทำเรื่องยาก ทำเรื่องเร็ว นี่คือแอคชั่น ฉะนั้น3เรื่องจะโยงกันคือใจมาสู่สมองมาสู่การกระทำ ก็คือรวมแล้วเป็นค่านิยมของเรา
“อนาคตของเครือก็อยู่ในกำมือของคนรุ่นใหม่ ประธานอาวุโสถึงบ่มเพาะคนรุ่นใหม่เพื่อสืบต่อยอด สิ่งที่อยากให้มีในคนรุ่นใหม่คือให้รักองค์กรเหมือนคนรุ่นเก่าๆที่เค้ารักองค์กร ที่เค้าได้ทำ ทุ่มเททำก็จะเป็นอะไรที่สุดยอด ถ้าในอนาคตมีคนรักองค์กร คนเห็นคุณค่าและปฏิบัติตาม 6ค่านิยม ผมคิดว่าเราจะไม่มีวันอับจน”