CP Story ชวนย้อนเวลาเรียนรู้อดีตสู่ปัจจุบันของอีกกิจการของเครือซีพีที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนซีพีนั่นคือบริษัทซีพีแรม
บริษัท ซีพีแรม จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทานรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและผู้นำด้าน FOOD PROVIDER มาตรฐานโลก เมื่อปี2560 ซีพีเคยจัดงานฉลอง “30 ปี ซีพีแรม”
ด้วยปณิธานที่จะส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ยังเพียบพร้อมด้วยความปลอดภัย และให้คุณค่าทางโภชนาการ มุ่งมั่นสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่ได้คุณภาพมาตราฐานอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการสร้างคุณค่าสูงสุดให้แก่ผู้บริโภค ตามมาด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าให้กับพันธมิตร ด้วยการพัฒนาการบริหารจัดการ ห่วงโซ่อุปทาน (SUPPLY CHAIN MANAGEMENT) จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้า ให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุดเสมอมา โดยมีสินค้าและบริการในกลุ่ม บริษัท ซีพีแรม จำกัด อาทิ แบรนด์เจด ดราก้อน, แบรนด์เลอแปง, แบรนด์เดลี่ไทย, แบรนด์เดลิกาเซีย, และแบรนด์ซีพีแรมแคทเทอริ่ง เป็นต้น
คุณวิเศษ วิศิษฏวิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด เปิดเผยว่า ซีพีแรม เดินทางผ่านยุคต่างๆ มาแล้วถึง 6 ยุค แต่ละยุคใช้เวลา 5 ปี รวมเวลาถึงวันนี้ เหตุผลที่แบ่งซีพีแรมในแต่ละยุคนั้น เพราะซีพีแรมมีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์องค์กรในระยะยาวไว้ทุกๆ 5 ปี เช่นเดียวกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย ตัวอย่างเช่น ยุคที่ 6 ที่เพิ่งจะผ่านพ้นไปนี้ก็คือ ยุคครบเครื่องด้วยนวัตกรรม ได้มุ่งเน้นในการส่งเสริมการสร้างนวัตกรและได้สร้างสรรค์นวัตกรรมที่โดดเด่นขึ้นมากมาย แต่ในเวลาเดียวกันนั้นเราก็มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศและเติบโตอย่างมั่นคงมาอย่างต่อเนื่อง
ยุค 1 : ยุคก่อร่างสร้างตัว (พ.ศ. 2531-2535)
“เมื่อเครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ และธุรกิจบริการอาหารภายในประเทศ บริษัท ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย”
เมื่อเครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade Retailer) และธุรกิจบริการอาหาร (Food Service) ภายในประเทศ อันได้แก่ แม็คโคร ร้าน 7-Eleven ซันนี่ซูเปอร์มาร์เก็ต และเชสเตอร์ฟู้ดส์ จึงได้ก่อตั้งหน่วยงานผลิตอาหารขึ้นมารองรับหลายธุรกิจ รวมถึง บริษัท
ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย โดยมี กิจการอาหารสำเร็จรูปแช่เยือกแข็ง (ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2531)และกิจการเบเกอรี่ (ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2532) ที่เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ซึ่งนอกจากจะผลิตขนมปัง เค้ก คุกกี้ ส่งร้านค้าปลีกและตลาดบริการอาหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์ในขณะนั้นแล้ว ยังเปิด ร้านเบเกอรี่ชื่อ “เบเกอริช” บนถนนสีลมฝั่งตรงข้ามอาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ และในซันนี่ซูเปอร์มาร์เก็ต สาขาถนนศรีนครินทร์อีกด้วย
ในส่วนของ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดเริ่มจากโรงงานแปรรูปผักผลไม้แช่เยือกแข็งเพื่อการส่งออก โดยนำผลไม้มาตัดแต่ง แช่เยือกแข็งบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและสะอาด เมื่อถึงมือผู้บริโภคสามารถรับประทานได้ทันที
ด้วยวิสัยทัศน์อันกว้างไกลและบุคลากรที่มากด้วยประสบการณ์ในเครือเจริญโภคภัณฑ์เอง ผนวกกับความรู้ความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกส่งผลให้ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดค่อยๆก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา ในวันที่ร้าน 7-Eleven ก่อตั้งขึ้น ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดก็ริเริ่มไปพร้อมๆ กันกับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่อบสด (Freshly-Baked Product) ซึ่งเหมาะวางจำหน่ายในร้านสะดวกซื้อ ตอบสนองลูกค้าที่อยากได้อาหารที่รับประทานได้เลย โดยไม่ต้องนำกลับไปปรุงอีก ที่สำคัญคืออิ่มท้อง
ผลิตภัณฑ์ช่วงนี้ของ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดจึงแบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลัก คือ กลุ่มผลไม้แช่เยือกแข็ง และกลุ่มเบเกอรี่อบสด ซึ่งสามารถรับประทานได้ทันทีต่อมาภายหลังพบว่าผลไม้แช่เยือกแข็งอาจไม่เหมาะ เนื่องจากผู้บริโภคมีทางเลือกของผลไม้สดมากกว่า จึงคิดค้นผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ กลายเป็นที่มาของการผลิตขนมจีบและซาลาเปาแช่เยือกแข็ง
ต่อมาเมื่อร้าน 7-Eleven เปิดไปแล้วประมาณสิบกว่าสาขา ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดจึงเริ่มจำหน่ายขนมจีบ ซาลาเปา ซึ่งแนวคิดในการผลิตเกิดจากเมื่อครั้งทีมงานการตลาดและทีมบริหารผลิตภัณฑ์ของ 7-Eleven เดินทางไปดูงานที่ไต้หวัน กลับมาจึงลงมือผลิตขาย กลายเป็นสินค้าตัวแรกของ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดที่มีการพัฒนาร่วมกับ 7-Eleven โดยมองว่าขนมจีบ ซาลาเปาเป็นอาหารที่เหมาะกับวิถีชีวิตคนไทยและรับประทานง่าย ผลิตเสร็จก็แช่เยือกแข็งส่งไปตามสาขาต่างๆ ของ 7-Eleven พอถึงร้านสาขาก็คลายอุณหภูมิจากแช่เยือกแข็งลง แล้ววางเรียงในตู้นึ่งร้อนเลยและเป็นที่มาของประโยคคลาสสิกเวลาเข้าร้าน 7-Eleven ว่า “รับขนมจีบซาลาเปาเพิ่มมั้ยคะ”
สำหรับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ เดิมผลิตเพื่อส่งให้กับร้าน 7-Eleven โดยเริ่มตั้งแต่สาขาแรก สินค้าเริ่มแรกเป็นเบเกอรี่ สไตล์ โฮมเมด เช่นเดียวกับที่วางจำหน่ายในร้านเบเกอรี่ชั้นนำแต่นำมาแพ็คขายผ่านร้านค้าปลีกสมัยใหม่ อายุสินค้าประมาณ 3-4 วัน ถือได้ว่า ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจประเภทนี้ก็ว่าได้ เพราะก่อนหน้านี้เบเกอรี่ที่แพ็คจำหน่ายในลักษณะนี้จะเป็นสินค้าอุตสาหกรรม (Mass Product) แต่ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์โฮมเมดจะวางจำหน่ายในร้านที่มีพนักงานคอยให้บริการเท่านั้น
แม้ว่าจะมีฐานช่องทางจำหน่ายรองรับเป็นอย่างดีแต่ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจส่วนใหญ่ของ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดกลับประสบปัญหาขาดทุน เนื่องจากใช้โรงงานและอุปกรณ์ที่ทันสมัย ใช้วัตถุดิบชั้นดี มีคุณภาพดี ทำให้มีค่าใช้จ่ายและต้นทุนวัตถุดิบสูง นอกจากนี้ยังอาศัยแรงงานฝีมือมาประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ให้สวยงาม มากกว่าการใช้เครื่องจักร อีกทั้งตลาดยังใหม่และร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade Retailer) ก็ยังมีจำนวนไม่มากนัก ทีมงานบริหารของ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดจึงต้องทำงานกันอย่างหนัก และในช่วงนี้เองจึงได้ปิดร้านเบเกอรี่บนถนนสีลม ซึ่งมีค่าเช่าที่สูง และสร้างความชัดเจนของธุรกิจหลักในด้านการผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทานให้มากยิ่งขึ้น
ยุค 2 : ยุคแห่งการพัฒนา (พ.ศ. 2536-2540)
“ยุคนี้มีการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อปรับประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต จากซาลาเปาที่เคยปั้นด้วยมือ ก็เปลี่ยนเป็นเครื่องขึ้นรูปซาลาเปาที่บีบออกมาแล้ววางบนกระดาษ แล้วเอาไปนึ่งได้เลย”
คงไม่เกินเลยนัก หากจะกล่าวว่า ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจากศูนย์เนื่องจากยังไม่เคยมีโรงงานอาหารพร้อมรับประทานในลักษณะนี้มาก่อน
เดิมเครือเจริญโภคภัณฑ์จะผลิตแต่อาหารแปรรูปที่เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคในปริมาณมากๆ เช่น ไก่ทอด ไส้กรอก เท่านั้น เมื่อต้องมาผลิตอาหารพร้อมรับประทาน จึงต้องเริ่มเรียนรู้ใหม่หมดก่อน พ.ศ. 2535 พนักงานต้องปั้นซาลาเปาด้วยมือ ยืนเรียงแถวกันยาวเหยียดในห้องเล็กๆเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิตสินค้านั้นแม้จะทันสมัย แต่แทบจะเรียกได้ว่าเป็นเครื่องครัวขั้นพื้นฐานก็ว่าได้
จากช่วง 5 ปีแรกของการลองผิดลองถูก ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดค่อยๆ ขยับขยายจากห้องครัวเล็กๆ มาเป็นสายการผลิตที่ใหญ่ขึ้น ถือเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม บนแนวคิดที่ว่าการผลิตอาหารนั้นต้องได้คุณภาพ ปลอดภัย ครบทั้งความสะอาด มีคุณค่าทางโภชนาการ และรสชาติอร่อย ดังนั้น เมื่อผ่านยุคของการก่อร่างสร้างตัวมาแล้ว ในช่วงเวลา 5 ปีถัดมานี้ จึงเป็นยุคแห่งการพัฒนาของ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อปรับประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต เช่น ซาลาเปาที่เคยปั้นด้วยมือ ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นเครื่องขึ้นรูปซาลาเปาจากประเทศญี่ปุ่นที่บีบออกมาแล้ววางบนกระดาษ แล้วเอาไปนึ่งได้เลย
ด้วยความเชี่ยวชาญในการผลิตอาหารและการให้ความสำคัญกับการพัฒนาสินค้า โดยมองจากความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก ทำให้ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดมีผลิตภัณฑ์ออกมามากมาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างหลากหลาย
วิวัฒนาการหนึ่งในช่วงนี้ หลังจากมีขนมจีบ ซาลาเปาแล้ว ก็คือไส้แฮมเบอร์เกอร์ต่างๆ เช่น ไส้หมู ไส้กุ้ง ไส้ไก่ ไส้ซีฟู้ด ที่วางจำหน่ายในร้าน 7-Eleven หลังจากนั้นก็มีผลิตภัณฑ์ขึ้นมาอีกตัวหนึ่ง คือ ข้าวกล่อง เพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่ต้องการซื้ออาหารที่ยังไม่ต้องรับประทานในทันที
ในส่วนของเบเกอรี่ เนื่องจากความต้องการสินค้าแบบโฮมเมด ไม่มีสต็อก ขายแบบวันต่อวัน
การตอบสนองร้านค้าปลีกทั่วประเทศ จึงไม่สามารถผลิตจากศูนย์กลางในกรุงเทพมหานครแล้วกระจายไปทั่วประเทศได้ ใน พ.ศ. 2539 จึงได้เปิดโรงงานเบเกอรี่ สาขาแรกที่พิษณุโลกขึ้น เพื่อรองรับการขยายของร้าน 7-Eleven และร้านค้าปลีกชั้นนำอื่นๆ ในภาคเหนือ
แม้ว่าก่อนหน้านี้ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดเน้นการผลิตสินค้าส่งร้าน 7-Eleven โดยไม่ได้คำนึงถึงการผลิตเพื่อส่งออกมาก่อน แต่หลังจากวิกฤติเศรษฐกิจลดค่าเงินบาทใน พ.ศ. 2540 อาหารไทยราคาถูกลง จึงเป็นที่จับตามองของต่างชาติ หลังจากนั้นกลุ่มสหภาพยุโรปก็ติดต่อมาเพื่อขอซื้อสินค้าของ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด เพราะสนใจในสินค้าอย่างขนมจีบ ซาลาเปา ที่ดูสะอาด บรรจุในบรรจุภัณฑ์สวยงาม รวมทั้งยังมีการพัฒนาสินค้าส่งออกขึ้นใหม่ให้ตรงตามรสชาติและความต้องการของผู้บริโภคฝั่งยุโรป
ในช่วงเศรษฐกิจขาลงนี้เอง ยังพบว่าผู้บริโภคภายในประเทศต้องการสินค้าที่มีราคาถูก หาซื้อง่าย จึงเกิดผลิตภัณฑ์เบเกอรี่“เลอแปง” (Le Pan) ขึ้นมาอีกหนึ่งแบรนด์ เพื่อรองรับตลาดที่ขยายตัว
อย่างรวดเร็ว และแข่งขันได้ในท้องตลาด รวมทั้ง“มิสแมรี่” (Miss Mary) ซึ่งเป็นแบรนด์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อรองรับตลาดซูเปอร์สโตร์ มีความโดดเด่นในเรื่องของสินค้าเทศกาล เช่น เค้กปอนด์และคุกกี้
และในปี 2539 นี้เอง ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 20 ล้านบาท เป็น 40 ล้านบาท
ยุค 3 : ยุคสู่สากล (พ.ศ. 2541-2545)
“ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดไม่หยุดนิ่งที่จะวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง และให้ความสำ คัญกับการดำเนินงานตามระบบมาตรฐานสากล”
พ้นจากยุคของการพัฒนามาแล้ว ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดเติบโตและแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ โดยไม่หยุดนิ่งที่จะทำการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการดำเนินงานตามระบบมาตรฐานสากลของโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการคุณภาพมาตรฐาน ISO 9001:2000 ระบบตรวจสอบวิเคราะห์ความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์อาหาร HACCP ระบบการจัดการ
สิ่งแวดล้อมมาตรฐาน ISO 14001 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มอก. 18001 และระบบการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรหรือ TQM (Total Quality Management)
ทั้งหมดนี้จึงเป็นปัจจัยให้กิจการของ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดเจริญก้าวหน้าและเติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับยุคนี้ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดได้นำเอาวิธีการในระดับสากลมาประยุกต์ใช้ร่วมกันหมดทั่วทั้งองค์กรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน แม้กิจการเบเกอรี่เองที่ไม่ได้ผลิตเพื่อการส่งออก แต่ก็ได้นำมาตรฐานสากลทุกระบบเข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของสินค้าด้วยเช่นกัน
ใน พ.ศ. 2542 ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 170 ล้านบาท และย้ายโรงงานเบเกอรี่จากมีนบุรี มาอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และเปิดโรงงานเบเกอรี่สาขาอีก 2 สาขา ที่หาดใหญ่ และขอนแก่น ต่อมา ใน พ.ศ. 2543 ได้ย้ายโรงงานอาหารพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็งมาอยู่ที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
ยุค 4 : ยุคมุ่งสู่ความเป็นเลิศ (พ.ศ. 2546-2550)
“ยุคนี้สำหรับ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดถือเป็นยุคแห่งการปฏิวัติระบบสารสนเทศ และนำกรอบ TQA เข้ามาประเมินองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ” เพราะให้ความสำคัญกับการพัฒนารอบด้าน ไม่เพียงเรื่องของเทคโนโลยีการผลิต การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดการโรงงานเท่านั้น แต่รวมไปถึงการสื่อสารและการจัดการในระดับปฏิบัติการเชิงคุณภาพด้วย ยุคนี้สำหรับ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดจึงถือเป็นยุคแห่งการปฏิวัติระบบสารสนเทศขององค์กร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
จากเดิมระบบสารสนเทศของ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดกระจายกัน แต่มายุคนี้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวโดยใช้ระบบที่เรียกว่า ERP (Enterprise Resource Planning) ซึ่งเป็นระบบการจัดการสากล โดยใช้โปรแกรม SAP เป็นการรวมระบบสารสนเทศให้ครบวงจร (Integrated) และทันเวลา (Real Time) รวมทั้งยังมีการดำเนินการต่อเรื่องระบบการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กรโดยรวม (Total Quality Management, TQM) และเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award, TQA) อย่างเข้มข้น ส่งผลให้ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดได้รับรางวัลองค์กรที่มีการบริหารสู่ความเป็นเลิศ หรือ Total Quality Control (TQC) ในปีพ.ศ. 2548
ระหว่างนั้นใน พ.ศ. 2547 ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 350 ล้านบาท และเปิดโรงงานเบเกอรี่ สาขาเชียงใหม่ พร้อมพัฒนาแบรนด์ “เบเกอร์แลนด์” ให้เป็น Exclusive Brand ของร้าน 7-Elevenซึ่งมุ่งเน้นยกระดับจาก Convenience Store ให้เป็น Food Store
ในส่วนกิจการอาหารพร้อมรับประทานได้ขยายโรงงานอาหารพร้อมรับประทานแช่เยือกแข็งที่อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดเติบโตเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาสินค้านวัตกรรมใหม่ในกลุ่มข้าวปั้นสไตล์ญี่ปุ่นตรา “โอ! อาโรจัง”
ถัดมาใน พ.ศ. 2549 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 600 ล้านบาท และใน พ.ศ. 2550 ได้ขยายโรงงานเบเกอรี่ที่ลาดกระบัง ขณะที่กิจการอาหารพร้อมรับประทานได้ริเริ่มผลิตและจัดจำหน่ายอาหารพร้อมรับประทานแบบแช่เย็น (Chilled Food) สำหรับร้านสะดวกซื้อทั่วไปและงานจัดเลี้ยงต่างๆ ขึ้นมาด้วย
ยุค 5 : ยุคเติบโตอย่างมั่นคง (พ.ศ. 2551-2555)
“เพื่อเป็นการวางรากฐานในการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดลงทุนสร้างโรงงานสาขา และลงทุนในการพัฒนาบุคลากร” ยุคต่อมา ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดยังคงมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการวางรากฐานในการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน บริษัทฯ วางแผนด้านการลงทุน เพื่อขยายฐานการผลิต 2 ด้าน คือ ลงทุนสร้างโรงงานสาขาวางเป้าหมายไว้ 8 แห่ง เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้นรวมทั้งสามารถจัดส่งอาหารให้กับร้าน 7-Eleven ในรัศมีการจัดส่งไม่เกิน 4 ชั่วโมง ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคได้สินค้าที่สดใหม่ ช่วยลดภาวะโลกร้อน และเกิดระบบเศรษฐกิจพึ่งพาตนเองของท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลานี้เกิดวิกฤติการณ์สำคัญหลายครั้ง ทั้งนอกประเทศและในประเทศ ทำให้ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดต้องตั้งรับกับสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน วิกฤติในต่างประเทศ อย่างสถานการณ์ซับไพรม์ (Sub-Prime) ของสหรัฐอเมริกาที่ลุกลามไปทั่วโลก วิกฤติเศรษฐกิจยุโรป รวมทั้งภัยพิบัติของญี่ปุ่นล้วนส่งผลกระทบต่อยอดการส่งออกสินค้าของ
ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดไปยังต่างประเทศ
หันกลับมาดูสถานการณ์ในประเทศก็เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง และอุทกภัยครั้งใหญ่ ทำให้ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดต้องชะลอการเปิดโรงงานในภูมิภาค จากเดิมวางแผนไว้ 8 แห่ง เหลือเปิดได้จริงเพียง 1 แห่งและขยายโรงงานเดิมอีก 3 แห่งเท่านั้น
แต่ในวิกฤติยังมีโอกาส แม้แผนการเปิดโรงงานต้องหยุดชะงัก ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดไม่หยุดยั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ด้วยการนำระบบการผลิตแบบลีน (Lean process) และระบบการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม หรือ TPM (Total Productive Maintenance) มาใช้ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ตลอดจนตอบสนองความต้องการผู้บริโภคสูงสุดด้วย ประกอบกับในเวลาต่อมาตลาดต่างประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ตัวเลขรายได้ส่งออกพุ่งสูงขึ้น เช่นเดียวกับตลาดในประเทศที่ซบเซาไปเพียงระยะสั้นๆ ระหว่างเกิดอุทกภัยก็กลับฟื้นตัวและเติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังจากผู้บริโภคเล็งเห็นถึงประโยชน์ของอาหารพร้อมรับประทานมากขึ้นในช่วงภาวะวิกฤติ
ขณะเดียวกัน ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดยังเน้นการ ลงทุนในการพัฒนาบุคลากร ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อองค์กร เพื่อรองรับการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท โดยช่วงเวลานี้ถือเป็นยุคที่ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ได้รับรางวัล TQC (Thailand Quality Class) ประจำปี 2548
ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้มองเห็นโอกาสในการปรับเปลี่ยนองค์กรหลายมุมมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างผู้นำซึ่งตลอด 5 ปีมานี้ ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาดมีการพัฒนาผู้นำอย่างต่อเนื่อง และเน้นสร้างบรรยากาศของนวัตกรรมในองค์กร โดยมีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมที่เน้นนวัตกรรมมาโดยตลอด เช่น Ant/Bee Mission Conference, Innovation Conference ปีละ 2 ครั้งของกิจการอาหารพร้อมรับประทาน และ CPRAM Award, Product Award ของกิจการ เบเกอรี่
นอกเหนือจากการสร้างผู้นำเชิงรุกในองค์กรแล้ว ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดยังเน้นพัฒนาบุคลากรให้เป็นนักสร้างนวัตกรรม (Innovator) ซึ่งคุณวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ เล่าเสริมในจุดนี้ว่า
“การเน้นตรงนี้สำคัญ เราจึงมีการเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม และไม่จำเป็นต้องเป็นนวัตกรรมที่เป็นสินค้าใหม่เพื่อขายลูกค้าเท่านั้น แต่เป็นนวัตกรรมในองค์กรก็ได้ เป็นนวัตกรรมที่ปรับปรุงในเรื่องของกระบวนการผลิตก็ได้ เราไม่มีการปิดกั้นความคิด จึงเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้พนักงานได้คิดถึงสิ่งที่มีมูลค่าเพิ่ม และสิ่งนี้จะนำให้องค์กรก้าวหน้าไปสู่สิ่งที่ดีกว่า”
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 การออกแบบเชิงนวัตกรรม ด้านการออกแบบอาหาร (Food Design) โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ จากผลิตภัณฑ์ “เบอร์เกอร์ข้าวเหนียว” ซึ่งเกิดจากการคิดค้นของทีมงานภายในองค์กร รวมทั้งผลงานนวัตกรรมดีเด่นจำนวนถึง 5 ใน 10 ชิ้น จากผลงานทั้งหมดในเครือเจริญโภคภัณฑ์กว่า 500 ชิ้น ที่ได้รับเลือกให้เข้ารอบสุดท้าย และได้รับรางวัล Chairman Award จากท่านประธานธนินท์ เจียรวนนท์ ในมหกรรมนวัตกรรมบัวบาน (CP Innovation Exposition) ใน พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2559 ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ความเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม และเป็นการวางรากฐานของยุคใหม่ให้กับ ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาดได้เป็นอย่างดี สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในยุคนี้ คือการปรับภาพลักษณ์แบรนด์ พร้อมปรับโลโก้ใหม่สู่สากล ด้วยแนวคิด “ก้าวหน้าพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง”
ภายใต้แบรนด์ “ซีพีแรม”
ยุค 6 : ยุคครบเครื่องด้วยนวัตกรรม (พ.ศ. 2556-2560)
“นวัตกรรมมีความสำคัญกับองค์กรเป็นอย่างยิ่ง ช่วยเสริมสร้างองค์กรให้เติบโตและยั่งยืนอีกทั้งไม่เพียงแต่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดเท่านั้น แต่ยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่มากกว่าความอร่อย”ในปี พ.ศ. 2556 บริษัท ซี.พี.ค้าปลีกและการตลาด จำกัด ได้มีการเปลี่ยนชื่อองค์กรเป็นบริษัท ซีพีแรม จำกัด
ด้วยบรรยากาศภายใต้วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม(Innovation Culture) ที่ได้ฟูมฟักในองค์กรมากว่า 10 ปีในห้วงเวลานี้ซีพีแรมจึงมีความพร้อมในการร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านต่างๆ
อย่างครบเครื่อง นวัตกรรมมีความสำคัญกับองค์กรเป็นอย่างยิ่ง ช่วยเสริมสร้างองค์กรให้เติบโตและยั่งยืน อีกทั้งไม่เพียงแต่จะช่วยยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดเท่านั้น แต่ยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องการผลิตภัณฑ์อาหารที่มากกว่าความอร่อย
ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของความสำเร็จในยุคนี้ คือการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมซีพีแรม (CPRAM Innovation Center) และโรงงานชลบุรี ถือเป็นศูนย์นวัตกรรมอาหารของเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย เป็นสถานที่บ่มเพาะนวัตกรเป็นแหล่งเรียนรู้และแบ่งปันองค์ความรู้ให้กับสังคม มีการรวบรวมผลงานด้านนวัตกรรมที่ซีพีแรมสร้างสรรค์ขึ้นมานำเสนอในรูปแบบนิทรรศการและแบบจำลองที่สัมผัสได้
ซีพีแรมจึงได้ร่วมมือกับองค์กรชั้นนำในต่างประเทศพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในด้าน Robot and Automationตอบสนองแนวทางการพัฒนาของซีพีแรมสู่ Industry 4.0 ในทุกๆ ด้าน
เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ไฮไลต์ของศูนย์แห่งนี้ยังอยู่ที่นวัตกรรมการผลิตในโรงงานแห่งใหม่สาขาชลบุรี ซึ่งอยู่ภายในบริเวณเดียวกัน ภายในโรงงานมีการผลิตแบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ซึ่งออกแบบขึ้นมาเฉพาะแห่งเดียวในโลกและทันสมัยที่สุดของไทย เช่น สายการผลิตซาลาเปาอัตโนมัติ สายการผลิตข้าวกล่องพร้อมรับประทาน
โรงงานชลบุรีแห่งนี้ยังใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานเกือบทั้งหมด ภายใต้การออกแบบบรรยากาศที่ทำงานให้มีสีสันเป็น Smart Office ให้ทุกคนสามารถทำงานในจุดไหนก็ได้ เพื่อช่วยเพิ่มจินตนาการให้แก่พนักงาน รวมทั้งจัดกิจกรรมจูงใจกระตุ้นให้ทุกคนโชว์ไอเดียในการทำงาน และมี Visitor Corridor การออกแบบทางเดินภายในอาคารให้เป็นสัดส่วนสำหรับพนักงานกลุ่มต่างๆและผู้เยี่ยมชม เพื่อไม่ให้รบกวนการทำงานของพนักงาน ซึ่งภาพรวมศูนย์นวัตกรรมซีพีแรมและโรงงานชลบุรีถูกออกแบบให้สะอาดตา ทันสมัย เหมือนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัย ซึ่งแตกต่างจากโรงงานทั่วไป
โรงงานชลบุรีแห่งนี้ยังใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงานเกือบทั้งหมด ภายใต้การออกแบบบรรยากาศที่ทำงานให้มีสีสันเป็น Smart Office ให้ทุกคนสามารถทำงานในจุดไหนก็ได้ เพื่อช่วยเพิ่มจินตนาการให้แก่พนักงาน
รวมทั้งจัดกิจกรรมจูงใจกระตุ้นให้ทุกคนโชว์ไอเดียในการทำงาน และมี Visitor Corridor การออกแบบทางเดินภายในอาคารให้เป็นสัดส่วนสำหรับพนักงานกลุ่มต่างๆ และผู้เยี่ยมชม เพื่อไม่ให้รบกวนการทำงานของพนักงาน ซึ่งภาพรวมศูนย์นวัตกรรมซีพีแรมและโรงงานชลบุรี ถูกออกแบบให้สะอาดตา ทันสมัย เหมือนมหาวิทยาลัยหรือสถาบันวิจัย ซึ่งแตกต่างจากโรงงานทั่วไป
ในยุคนี้ซีพีแรมถือว่ามีความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย และยังใช้การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ คือตั้งแต่ผู้ส่งมอบวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต จัดเก็บและกระจายสินค้าสู่ลูกค้าจนถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้าย เพื่อให้ได้คุณภาพและปริมาณสินค้าที่ดีอย่างสม่ำเสมอและเกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันในการดำเนินธุรกิจ ผลจากความมุ่งมั่นทุ่มเททำให้ซีพีแรมได้รับรางวัลมากมายในยุคนี้ ทั้งระดับประเทศและระดับโลก อาทิ รางวัล Thailand Kaizen Award รางวัล TPM Excellence Award รางวัลอุตสาหกรรมยอดเยี่ยม รางวัล KANO Quality Award รางวัลบริษัทยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน และเป็นบริษัทผลิตอาหารบริษัทเดียวของไทยที่ได้รับรางวัล Deming Prize จากประเทศญี่ปุ่น
นอกจากนี้ยังมีการก่อตั้ง ซีพี ฟู้ดแล็บ ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยและพัฒนา รวมถึงรับวิเคราะห์ทดสอบทางด้านอาหาร ตั้งอยู่ในโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Inno-polis) อาคารกลุ่มนวัตกรรม 2 (INC2) อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี เดิมเป็นสำนักวิจัยและพัฒนาของซีพีแรม เน้นรับปัญหาและความท้าทายจากซีพีแรมมาสร้างโจทย์ เพื่อทำ งานวิจัยพื้นฐาน วิจัยประยุกต์ และส่งต่อให้ทีมพัฒนาสินค้าใหม่ (New Product Development : NPD) ปัจจุบัน ซีพี ฟู้ดแล็บ เป็นศูนย์กลางข้อมูลความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนารวมถึงศูนย์กลางการทดสอบ เพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในเครือเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัทอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ยุค7 ยกระดับสู่ยุคศรีอัจฉริยะ (พ.ศ. 2561-2565)
“แนวคิด “ศรีอัจฉริยะ” (ศรี คือ ความดีงาม อัจฉริยะ คือ ความเก่ง) ซึ่งเป็นการยกระดับ ความดี พร้อม ความเก่ง” จากปณิธานที่จะส่งมอบอาหารที่มีคุณภาพ ซึ่งนอกจากรสชาติอร่อยแล้ว ยังเพียบพร้อมด้วยความปลอดภัย และให้คุณค่าทางโภชนาการ ซีพีแรมจึงมุ่งมั่นสร้างสรรค์สินค้าและบริการที่ได้คุณภาพมาตรฐาน โดยคำนึงถึงการสร้างคุณค่าสูงสุดให้แก่ผู้บริโภค ด้วยการคัดสรรวัตถุดิบชั้นดี มีการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักรทันสมัยเข้ามาใช้ ไม่หยุดนิ่งที่จะทำการวิจัยและพัฒนา ให้ความสำคัญกับ การดำเนินงานตามระบบมาตรฐานสากล และขับเคลื่อนธุรกิจด้วยนวัตกรรม ตามมาด้วยการสร้างสรรค์คุณค่าให้กับพันธมิตร ด้วยการพัฒนาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ตั้งแต่กระบวนการสั่งซื้อการนำ เข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุดเสมอมา
ในอีก 5 ปีข้างหน้านี้ ซีพีแรมตั้งเป้ายกระดับการดำ เนินธุรกิจไปอีกขั้น เพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่สร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนร่วมในความสำเร็จขององค์กรในวงกว้างมากยิ่งขึ้น นำไปสู่แนวคิด “ศรีอัจฉริยะ” (ศรี คือ ความดีงาม อัจฉริยะ คือ ความเก่ง) ซึ่งเป็นการยกระดับ “ความดี” พร้อม “ความเก่ง” ขององค์กรอย่างเข้มข้น
“องค์กรที่มีความยั่งยืน คือ องค์กรที่มีการสร้างคุณค่า หรือ Value ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงองค์กรต้องมุ่งมั่นพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรม อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน หรืออีกนัยคือ องค์กรแห่งนวัตกรรม ในยุคศรีอัจฉริยะนี้ เราจะพัฒนาและ ส่งเสริมทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เป็นเลิศทั้งความดีและความเก่ง ทั้งพนักงานในองค์กรและพันธมิตร ในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) โดยเรามุ่งมั่นมาอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาให้เกิดความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety) ให้กับสังคมและประเทศชาติ มุ่งสู่เป้าหมายของการสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน (Food Security and Sustainability) เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้แก่ผู้บริโภคตลอดไป
คุณวิเศษ วิศิษฏ์วิญญู กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีแรม จำกัด อธิบายถึงแนวคิดดังกล่าว ในแง่ “ความดี” ซีพีแรมยังคงเดินหน้าสร้างคุณค่าให้กับสังคมรอบข้าง นอกเหนือจากด้านการส่งเสริมความรู้อาหารปลอดภัย คุณค่าทางโภชนาการ และสุนทรียภาพในการบริโภค ด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ด้านการพัฒนา การศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม ซีพีแรมยังคำ นึงถึงการมอบสิ่งที่เป็นคุณค่าบนพื้นฐานความรับผิดชอบ ต่อสังคม ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดห่วงโซ่อุปทาน อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
“ยกตัวอย่างภายในองค์กรซีพีแรม สำนักงานใหญ่ (ลาดหลุมแก้ว) เราทำ โครงการ CPRAM Zero Water Discharge เพื่อหาวิธีในการรีไซเคิลน้ำทิ้งจาก กระบวนผลิตในโรงงานจนสามารถนำน้ำเสียกลับมาใช้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ เช่น การนำ ไปใช้เป็นน้ำดิบสำหรับผลิตน้ำเพื่อใช้ในโรงงาน หรือ การนำไปผลิตในระบบระบายความร้อนหอผึ่งเย็น โครงการนี้ช่วยให้เราพัฒนาการเรียนรู้เทคโนโลยีขั้นสูงในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ นอกจากนี้ยังช่วยสร้าง จิตสำนึกในการอนุรักษ์การใช้น้ำอย่างคุ้มค่า
สร้างทัศนคติที่ดีให้ผู้คนในชุมชน และรบกวนสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด ท้ายที่สุดคือการอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ระหว่างบริษัทฯ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมส่วนโรงงานของเราที่จังหวัดชลบุรีก็ได้รับการรับรองโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ แสดงถึงโรงงานที่ยึดมั่นใน การประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และปรับปรุงกระบวนการผลิตตลอดจนการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานความรับ ผิดชอบต่อสังคม”
คุณวิเศษ ยังได้เล่าถึงการบริหารห่วงโซ่อุปทานว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เพราะเป็นความร่วมมือตั้งแต่ต้นน้ำ ซึ่งได้แก่ผู้ที่ส่งมอบวัตถุดิบ ไปสู่ปลายน้ำ ซึ่งได้แก่ ผู้บริโภคที่ต้องการอาหารปลอดภัยและต้องการให้ซีพีแรมอยู่ร่วมกันในโลกใบนี้ที่น่าอยู่ วันนี้สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำ คัญในการเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ ถ้าปล่อยให้ห่วงโซ่นี้ต่างคนต่างพัฒนา ผลลัพธ์จะไม่เกิดความยั่งยืน การจัดการห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมอาหารนั้น มีความสำ คัญเป็นอย่างยิ่งต่อความมั่นคงอาหารอย่างยั่งยืน
เนื่องด้วยตลอดห่วงโซ่อุปทานนั้นจะประกอบด้วยผู้ประกอบการรายย่อย (SME) และรายใหญ่มากมายทั่วทั้งประเทศตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ การพัฒนาและนำ เอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปใช้อย่างเหมาะสม จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้าในแต่ละห่วงโซ่ถัดไปได้ทั้งปริมาณที่ส่งมอบและ คุณภาพที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับด้านความปลอดภัยอาหารตลอดห่วงโซ่อุปทานได้ เมื่อความมั่นคงอาหารเกิดขึ้นแล้ว การจะสามารถดำ เนินการต่อเนื่องอย่างยั่งยืนต่อไปนั้น เรายังต้องสร้างคุณค่าให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดีไปพร้อมๆ กัน ในยุคศรีอัจฉริยะจึงไม่เพียงแต่ยกระดับความดีคู่ความเก่งขององค์กรเท่านั้น แต่ยังจะขยายผลไปสู่คู่ค้าของซีพีแรมตลอดห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย
“ทางซีพีแรมบริหารห่วงโซ่อุปทานไปหลายสินค้าแล้ว ตัวอย่างง่ายๆ ข้าวกะเพรากว่าจะได้กะเพราคุณภาพที่ไม่มีสารปนเปื้อนใดๆ เรามีการจัดทำโครงการเรียนรู้ คู่อาชีพ เพื่อวิถีเกษตรที่ยั่งยืน หรือ ‘เกษตรกรคู่ชีวิต’ โดยเป็นโครงการที่ได้นำ ศักยภาพต่างๆ ขององค์กรไปช่วยส่งเสริมและพัฒนาสังคม ในฐานะที่เราเป็นผู้ผลิตอาหาร และผู้ส่งมอบสู่ลูกค้าและผู้บริโภค ซึ่งวัตถุดิบหลักส่วนหนึ่ง คือ วัตถุดิบทางการเกษตร เราต้องช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อความยั่งยืน ปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่พบ คือ ด้านการตลาด เงินทุน และวิชาการ ตัวอย่างเช่น ด้านการตลาด เรามีการให้คำ แนะนำ พืชผัก ที่ควรปลูก และเป็นที่ต้องการของตลาด
ซึ่งกรณีนี้เป็นกะเพราป่าที่มีความหอมกว่ากะเพราพันธุ์อื่น ด้านเงินทุนสร้างงานและอาชีพในชุมชน ช่วยให้เกษตรกรขายได้กำ ไร มีเงินทุนหมุนเวียน อีกทั้งช่วยสนับสนุนโครงการในด้านต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่เกษตรกร และด้านวิชาการ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตร ให้องค์ความรู้ต่างๆ แก่เกษตรกร เปิดให้เข้าไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับการปลูกพืชภายใต้มาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) เป็นต้น ทำ ให้เขามีอาชีพ มีรายได้ มีตลาดรองรับ ส่วนผู้บริโภคก็ได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัยไร้กังวล”
อีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งสะท้อนถึงการดำ เนินงานที่คำ นึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และตอบโจทย์แนวทางของความยั่งยืนได้อย่างชัดเจน คือ เมนู “ข้าวผัดปู” ซึ่งถือเป็นเมนูที่ขายดีอันดับต้นๆ ในร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ส่งผลทำ ให้วัตถุดิบเนื้อปูไม่เพียงพอต่อความต้องการและมีโอกาสที่แหล่งวัตถุดิบจะขาดแคลนปัญหาที่เกิดขึ้น ทำ ให้ซีพีแรมเล็งเห็นว่าควรเข้าไปช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุ์ปูม้า โดยส่งเสริมการไม่จับปูม้าในช่วงการวางไข่และนำ แม่พันธุ์ปูม้าไข่นอกกระดองมาเพาะพันธุ์ปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อเพิ่มจำนวนปูม้าและให้ชุมชนสามารถทำ การประมงได้อย่างยั่งยืน
ส่วนในด้าน “ความเก่ง” นั้น ซีพีแรมมุ่งเน้นการขับเคลื่อนองค์กรแห่งนวัตกรรมอย่างต่อเนื่องและเข้มข้นยิ่งขึ้น โดยเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมของตนเองในทุกๆ ด้านของซีพีแรมสู่ยุค Industrial 4.0 อาทิ Biotechnology, Robotic and Automation, E-commerce, Digital Technology พร้อมด้วย IoT (Internet of Things), Cloud Computing, Big Data and Data Analytics เพื่อเดินหน้าธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน และร่วมผลักดันประเทศไทย เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารในภูมิภาคเอเชีย
“30 ปีที่ผ่านมา ซีพีแรมเราสะสมองค์ความรู้ด้านอาหารไว้มากมาย มาถึงยุคที่ 6 ครบเครื่องนวัตกรรม เรามีการพัฒนาระบบการจัดการซีพีแรม (CPRAM-MS) ของเราเอง โดยนำเอาระบบการจัดการสมัยใหม่ชั้นเยี่ยม 3 ระบบ อันได้แก่ ระบบการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM)ระบบการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) และระบบลีน (LEAN) เมื่อเราพัฒนาความเก่งของเราแล้ว ในยุคศรีอัจฉริยะนี้เราจะนำ ความเก่งไปสร้างคุณค่า โดยถ่ายทอดแนวคิดระบบต่างๆ ของเราไปยังผู้ที่มีส่วน เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมในตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืนต่อไป”
ผู้บริหารซีพีแรมมีความเชื่อว่า มนุษย์กับองค์กรมีความคล้ายกัน มนุษย์ทุกคนเกิดมามีต้นทุนที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ต้นทุนด้านชาติกำเนิด การศึกษา ประสบการณ์ หรือแม้แต่การเข้าถึงโอกาสต่างๆ ใครที่มีต้นทุนสูงก็สร้างคุณค่าให้กับสังคมได้สูง องค์กรก็เช่นกัน องค์กรที่มีต้นทุนสูง ถึงพร้อมด้านบุคลากร เทคโนโลยี ตลอดจนศักยภาพด้านต่างๆ ก็ควรส่งมอบคุณค่าที่สูงให้กับสังคมเช่นกัน
“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับพสกนิกรในทุกๆ เรื่อง พระองค์ประสูติเป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ ขณะเดียวกันพระองค์ก็ทรงงานเพื่อประเทศชาติอย่างทรงไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยและทรงทำประโยชน์อเนกอนันต์ให้กับแผ่นดินไทย นี่เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนให้กับพวกเราได้เรียนรู้และเดินตามรอยพระยุคลบาท เราทุกคนต้องพร้อมเสมอที่จะสร้างคุณค่าให้กับสังคมส่วนรวมด้วยกัน”
คุณวิเศษยังได้ทิ้งท้ายถึงสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดในยุคศรีอัจฉริยะ นั่นคือ การนำเทคโนโลยีชีวภาพ (biotechnology) มาพัฒนานวัตกรรมอาหารเพื่อคนเฉพาะกลุ่ม เป็นการตอบโจทย์ความต้องการด้านโภชนาการที่แตกต่างกัน“ก้าวต่อไปของซีพีแรม เราจะไปสู่การผลิตอาหารที่จำ เพาะเจาะจงกับ
ผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มมากขึ้นเรียกว่า Functional food เพราะมนุษย์เราไม่ได้มีความต้องการโภชนาการชนิดเดียวกันทุกๆ คน เราควรจะมีอาหารสำหรับคนวัยเด็กว่าต้องการโภชนาการแบบใด คนที่ต้องใช้พลังงานมากในวัยทำงานต้องการโภชนาการแบบใด คนที่สูงวัยต้องการโภชนาการแบบใด เราต้องพัฒนาไปตรงนั้น รวมไปถึงคนที่ต้องการดูแลสุขภาพ เป็นกรณีพิเศษ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง นี่เป็นสิ่งที่เราจะทำต่อไปในยุคนี้
ขณะเดียวกันห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำก็ต้องได้ประโยชน์ด้วย เป็นการพัฒนาร่วมกัน มีคุณค่าเพื่อส่วนรวมต่างคนก็ต่างเกิดประโยชน์ รวมทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับอุตสาหกรรมอาหารของไทยสู่ชั้นแนวหน้าของโลกที่นานาชาติยอมรับอีกด้วย”
นอกจากนี้ คุณรำไพพรรณ พรตรีสัตย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพีแรม จำกัด ได้ให้มุมมองในการก้าวสู่ยุคศรีอัจฉริยะว่า“ยุคศรีอัจฉริยะเป็นยุคที่เน้นการสร้างทั้งคนดีและคนเก่ง เราจะให้ความสำ คัญกับการพัฒนาผู้นำ รุ่นใหม่ในองค์กรที่จะขึ้นมานำ คนในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยจะเน้นค่านิยมการมีคุณธรรม(Morals) ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น สร้างจิตสำ นึกว่าองค์กรจะยั่งยืนได้ต้องเป็นองค์กรที่ดีและสร้างประโยชน์ให้กับสังคมส่วนรวม ขณะเดียวกันก็ต้องมีปัญญาหรือความเก่งด้วย ทุกวันนี้เราเก่งคนเดียวไม่ได้แล้ว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตรตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์และสร้างความยั่งยืนได้ ดังนั้น ถ้านำ ‘ศรี’ กับ ‘อัจฉริยะ’ มารวมกันก็จะหมายถึง ทำอย่างไรเราจะทำ งานด้วยธรรมะของคนดีกับปัญญาของคนเก่ง เพื่อประสานประโยชน์ให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ระดับบุคคล องค์กร พันธมิตรในห่วงโซ่อุปทาน ไปจนถึงระดับสังคม”
ในแง่แผนการดำเนินงาน เป้าหมายในยุคข้างหน้าจะเป็นยุคที่เบเกอรี่ของซีพีแรมจะไม่ใช่เพียง “ของกินเล่น” เท่านั้น แต่จะกลายเป็น “มื้อเช้า” ซึ่งเป็นมื้อสำคัญของทุกคน
“จากยุคครบเครื่องนวัตกรรมที่ทำให้การผลิตเป็นอัตโนมัติแล้ว ยุคถัดไปเราจะเพิ่มคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์เบเกอรี่โดยยกระดับให้เป็นมื้อเช้าสำหรับ
คนไทย ที่ทั้งอร่อย มีคุณค่า ในราคาที่ไม่แพง ขณะเดียวกันก็ยังคงเสน่ห์ของเบเกอรี่ไว้ คือเป็นของหวานคู่กายที่กินเมื่อไหร่ก็ได้
ยุคหน้านี้เราจะพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้เทคโนโลยีสำ คัญ นั่นคือเทคโนโลยีอุณหภูมิของการผลิตและการเก็บสินค้า ที่ผ่านมาเราเคยมีแต่เบเกอรี่ที่เป็นอาหารในอุณหภูมิห้อง ต่อไปเราจะเริ่มทำเบเกอรี่แช่เย็น (chilled bakery) และเบเกอรี่แช่แข็ง (frozen bakery) เพื่อตอบสนองโอกาสในการบริโภคที่หลากหลาย สามารถเก็บไว้ได้ทั้งในอุณหภูมิปกติ สภาพแช่เย็น และสภาพแช่แข็ง ตรงนี้ต้องอาศัยพันธมิตรทั้งผู้ผลิตวัตถุดิบ ผู้ผลิตเครื่องจักรทั้งไทยและต่างประเทศ เชื่อแน่ว่าจะทำให้เกิดนวัตกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการบริหารการผลิตอย่างต่อเนื่อง”
จากทั้งหมดนี้การก้าวสู่ยุค “ศรีอัจฉริยะ” จะทำให้ธุรกิจอาหารของซีพีแรมแข็งแกร่งและเติบโตยั่งยืนไปพร้อมกับผู้มีส่วนร่วมในความสำเร็จ เพื่อตอบสนองความต้องการสูงสุดของลูกค้า ตอกย้ำภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำ ธุรกิจอาหารพร้อมรับประทานและเบเกอรี่ของประเทศ มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ยั่งยืน
สำหรับการเตรียมพร้อมก้าวสู่ยุคศรีอัจฉริยะ คุณเจริญ แก้วสุกใส รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ซีพีแรม จำกัด ได้ฉายภาพอนาคตที่จะเกิดขึ้นว่า
“สำหรับยุคที่ 7 นี้ เรื่องคนเป็นเรื่องใหญ่ เราจึงเน้นเตรียมความพร้อมด้านการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเรื่อง Automation, Robot และ E-commerce รวมถึงวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ตลอดจนกระบวนการต่างๆ เช่น วิจัยและพัฒนาอาหารที่จำเพาะเจาะจงกับผู้บริโภคในแต่ละกลุ่มมากขึ้น ที่เรียกว่า Functional food มีการพัฒนาเครื่องจักรและเทคโนโลยีร่วมกับผู้ผลิตต่างๆ
นอกจากนั้นแล้วยุคที่จะถึงนี้เป็นยุคของความยั่งยืน เน้นการผลิตที่ประหยัดพลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาเราปรับการบริหารจัดการการผลิตอาหารในทุกกระบวนการ เพื่อลดค่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศโลกให้ต่ำที่สุด ผลสำเร็จที่ได้คือ จัมโบ้เปาไส้หมูสับ ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีมูลค่าเพิ่มจากฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (carbon footprint)ซึ่งผ่านการตรวจรับรองเป็นรายแรกของประเทศในกลุ่มสินค้าซาลาเปา มีการทำวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ (water footprint) เพื่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันเรามีการตั้งโรงงานในภูมิภาคต่างๆ เพื่อลดการขนส่งระยะไกล ซึ่งทั้งหมดกำลังจะแล้วเสร็จในอนาคตอันใกล้นี้รวมทั้งพยายามใช้วัตถุดิบท้องถิ่น โดยรวมกลุ่มทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อถ่ายทอดแบ่งปันความรู้กันสิ่งเหล่านี้เราได้เริ่มดำเนินการมาแล้ว แต่จะเน้นหนักมากขึ้นในยุคนี้”
ยิ่งไปกว่านั้นผู้บริโภคจะได้พบกับช่องทางจำ หน่ายสินค้าและบริการในรูปแบบ VendingMachine หรือตู้หยอดเหรียญ และ Food Van หรือครัวเคลื่อนที่เพื่อจำหน่ายอาหารหลากหลายชนิด เพื่อตอบโจทย์วิถีการดำ เนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วของผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีธุรกิจบริการจัดเลี้ยง ภายใต้แบรนด์ “ซีพีแรม แคทเทอริ่ง” และการขายสินค้าอาหารในรูปแบบ E-commerce ส่วนตลาดต่างประเทศจะมีการขยายช่องทางจัดจำหน่ายไปยังภูมิภาคต่างๆ มากขึ้น อาทิ ยุโรป อเมริกาเหนือ
“ความท้าทายในยุคหน้า คือการบริหารสินค้าที่สดใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทำ มาอย่างต่อเนื่อง และต้องเข้มข้นขึ้น เนื่องจากสินค้าอาหารในยุคที่จะถึงนี้จะมีระยะเวลาในการขายสั้น การจัดการเรื่องนี้จึงต้องดำ เนินการอย่างรวดเร็วแบบมืออาชีพทั้งในด้านการผลิตและการส่งมอบ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่สดใหม่เหมือนเพิ่งผลิตออกมาจากเตา นำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับสังคมไทยต่อไป”
ที่มา:เว็บไซท์ CPRAM.CO.TH