คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ เครือซีพี เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมาเครือซีพีประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์และเป้าหมายด้านความยั่งยืน โดยได้รับรางวัลระดับนานาชาติและได้รับเชิญให้ร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืนจากองค์กรระดับโลก อาทิ การได้รับคัดเลือกให้เป็นสถานะ Lead จากกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ หรือ UNGC ซึ่งมีเพียง 38 บริษัทจากทั่วโลกได้รับสถานะนี้ จากทั้งหมด 10,000 บริษัทที่ UNGC ได้พิจารณา ทั้งยังได้รับรางวัลเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีจริยธรรมสูงที่สุดในโลกจากสถาบัน Ethisphere รวมถึงได้เข้าร่วมคณะกรรมาธิการธุรกิจเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ หรือ Business Commission to Tackle Inequality (BCTI) ของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (WBCSD) และยังได้รับอีกหลายรางวัลในระดับประเทศ เช่น รางวัลธุรกิจที่ยั่งยืน จากเวที Sustainable Business Awards (Thailand) โดยองค์กร Global Initiative และรางวัลธุรกิจคาร์บอนต่ำและยั่งยืน จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยประการสำคัญที่ทำให้เครือซีพีประสบความสำเร็จในการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน คือการที่ผู้นําและพนักงานของทุกกลุ่มธุรกิจได้นํายุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง จนสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างน่าพอใจ ในความสำเร็จนี้เครือซีพีจึงขอขอบคุณผู้บริหารและพนักงานของทุกกลุ่มธุรกิจในเครือฯ ทั้งในและต่างประเทศ
คุณนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหาร ด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่าในการนี้ ซีอีโอ เครือซีพี จึงได้มีนโยบายให้มีการมอบรางวัลความยั่งยืนดีเด่น หรือ CP for Sustainability Awards แก่กลุ่มธุรกิจต่าง ๆ ในเครือฯขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อยกย่องเชิดชู และเป็นแบบอย่างที่ดีในการขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยพิจารณาคัดเลือกกลุ่มธุรกิจในประเทศไทยที่มีผลการดําเนินงานตามเป้าหมายความยั่งยืนที่โดดเด่นในปี 2563 เป็นที่ควรยกย่องเชิดชู และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ในเครือฯได้ต่อไปในอนาคต
รางวัลความยั่งยืนดีเด่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ ปี 2563 แบ่งเป็น 2 ประเภทรางวัล ประเภทที่ 1 เป็นโล่รางวัลสําหรับกลุ่มธุรกิจที่มีผลการดําเนินงานด้านความยั่งยืนดีเด่นในด้านต่าง ๆ รวม 12 รางวัล ด้านการสร้างคุณค่าทางสังคม 2 บริษัท คือ 1. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร( ซีพีเอฟ) จากกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร 2.ซีพี ออลล์ จากกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดี มี 2 บริษัท ได้แก่ 1. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร(ซีพีเอฟ)จากกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร 2. ออลล์ จากกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย
ด้านการบริหารจัดการนวัตกรรม ได้แก่ ทรู คอร์ปอเรชั่น จากกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคม ส่วนด้านการศึกษา ได้แก่ ทรู คอร์ปอเรชั่น ด้านการปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ 1. กลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ 2. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จากกลุ่มธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ด้านการดูแลรักษาทรัพยากรน้ำ ได้แก่ ซีพีเอฟ ด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ สยามแม็คโคร และ ด้านการจัดทำรายงานความยั่งยืนโดยสมัครใจ ได้แก่
1.กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร(ข้าวโพด) 2.กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
ประเภทที่ 2 เป็นใบประกาศเกียรติคุณ ด้านอุบัติเหตุเป็นศูนย์ หรือ Zero Accident สําหรับหน่วยงานของกลุ่มธุรกิจ ที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุเป็นศูนย์ติดต่อกันมากกว่า 5 ปี รวมทั้งสิ้น 12 หน่วยงาน ได้แก่ 1. โรงเพาะฟังลูกกุ้งท่าบอน-CPF 2. ศูนย์ปรับปรุงพันธุกรรมกุ้งปะทิว-CPF 3.กิจการเพาะฟักลูกกุ้งสิช-CPF 4.กิจการเพาะฟักลูกกุ้งสิงหนคร-CPF 5.ศูนย์กระจายสินค้าสำโรง-CPALL 6.ศูนย์กระจายสินค้าโชคชัยร่วมมิตร- CPALL 7.ศูนย์กระจายสินค้า CDC ภูเก็ต-CPALL 8.ศูนย์กระจายสินค้า CFDC สุราษฎร์ธานี-CPALL 9.แม็คโครสาขาหนองคาย-MAKRO 10.โรงงานปรับสภาพเมล็ดพันธุ์ สาขาโรงงาน 1-กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร(ข้าวโพด) 11. บริษัท ซี.พี.สตาร์เลนส์ จำกัด-กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร(CPA) 12. โรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ ชัยนาท-กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร(CPA)
สำหรับโล่รางวัลที่ได้มอบให้ในครั้งนี้ ได้ออกแบบและผลิตขึ้นมาจากเปลือกไข่อัพไซเคิล ส่วนใบประกาศนียบัตร ผลิตจากต้นไม้ที่ปลูกเพื่อผลิตกระดาษโดยเฉพาะ ทุกกระบวนการผลิตคำนึงถึงความยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ที่มา: มติชน