สำนักประสานกิจการสัมพันธ์ จัดงานเสวนา CP-CSR TALK ครั้งที่ 5 ชวนคนซีพีเรียนรู้ How To ชนะใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มุ่งหวังให้คนซีพี พัฒนาการดำเนินงานกับภาคีเครือข่ายอย่างไร? ให้ประสบความสำเร็จ

เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564 สำนักประสานกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรม CP-CSR Talk ครั้งที่ 5 ขึ้น ในหัวข้อการเสวนาเรื่อง “How To ชนะใจผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภาครัฐประชาคม NGO นักวิชาการ” กรณีศึกษาหน่วยงานด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือซีพี โดยได้รับเกียรติจาก คุณอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านประสานกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และตัวแทนหน่วยงานด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ นำโดย คุณพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ คุณอรรถวิทย์ ยุทธยศ และคุณนนท์ นาคะเสถียร ร่วมแลกเปลี่ยนพูดคุยวิธีการทำงานอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆได้เข้าใจ ยอมรับและร่วมมือกับหน่วยงาน ในการขับเคลื่อนการแก้ปัญหา พัฒนาสังคมได้อย่างยั่งยืน

คุณพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ หัวหน้าทีมปฏิบัติการด้านความยั่งยืน และกิจการเพื่อสังคม หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐเกิดขึ้นเพื่อดำเนินภารกิจภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนของเครือซีพี โดยมีคุณจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสเป็นผู้รับผิดชอบดูแลการดำเนินงาน สืบเนื่องจากปัญหาที่พื้นที่ภาคเหนือที่เป็นต้นน้ำสำคัญของประเทศประสบปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม เครือฯตระหนักและเห็นความสำคัญในการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ประชาสังคม ภาคการศึกษาและภาคเอกชนเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคูไปกับการพัฒนาชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกร เพื่อให้คนกับป่าสามารถอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

โดยมีการแก้ปัญหาและพัฒนาเกษตรกรและชุมชนควบคู่กับการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยเริ่มการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดน่านที่เป็นแหล่งต้นน้ำน่านและขยายสู่จังหวัดที่เป็นแหล่งต้นน้ำปิง วัง ยม ในจังหวัดภาคเหนือ อาทิเชียงใหม่ ลำปาง พะเยา โดยมีเป้าหมายสำคัญในการปลูกต้นไม้ทั้งหมด 787,303 ต้น โดยดำเนินการควบคู่ไปกับการแก้ปัญหา พัฒนาชุมชน โดยมีกลยุทธ์สำคัญในการดำเนินงานภายใต้แนวคิดศาสตร์พระราชา ที่เน้นการทำงานที่เข้าถึง เข้าใจ พัฒนา โดยมีชุมชนเป็นตัวตั้ง พื้นที่เป็นตัวตาม เครือฯเป็นตัวเติม โดยมีการทำงานร่วมกับภาคีเครือทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา ภาคเอกชน

สำหรับยุทธศาสตร์ความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในปี 2564 นี้ ทางหน่วยงานจะมีการเน้นด้านการศึกษาและการลดความเหลื่อมล้ำ คุณค่าและการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่สังคม การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การปกป้องระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ นอกจากนี้ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน รวมไปถึงเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำมาเป็นแนวทางในการทำงานให้แก่ทีมงานทุกคน

นอกจากแนวคิดตามศาสตร์ของพระราชา ทีมยังต้องยึดชุมชนเป็นตัวตั้ง พื้นที่เป็นตัวตาม และทีมเราเป็นตัวเติม ยังมีแนวคิด 5ส ได้แก่ 1) สู้ด้วยความจริง 2) สร้างความเข้าใจให้เครือข่าย ให้กลุ่มเป้าหมาย ในเรื่องของห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากสาเหตุของปัญหามีความเชื่อมโยงกับภาคการเกษตร รวมถึงเข้าในสถานะของตนเองว่าอยู่ตรงไหนในห่วงโซ่อุปทาน 3) สนับสนุนการทำงานในภาคเครือข่ายต่างๆอย่างจริงใจ 4) มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา โดยสร้างความมั่นใจว่าเครือซีพีเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดยมีการตั้งไซต์งานในทุกพื้นที่ 5) การสื่อสารอย่างมียุทธวิธี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างการรับรู้ข้อเท็จจริง รวมถึงความจริงใจที่เรามีต่อชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

นอกเหนือจาการฟื้นฟูป่าเพิ่มพื้นที่สีเขียว ทีมงานโดยหน่วยงาน SE (Social Enterprise) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ขยายผลต่อยอดจากงานพัฒนาความยั่งยืน หรือ SD ยังมีเป้าหมายในการยกระดับการดำเนินอาชีพของเกษตรกรไปสู่การเป็นธุรกิจชุมชนหรือSocial Enterprise เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน โดยหน่วยงานSEมีแนวทางในการเติมความรู้ เติมโมเดลธุรกิจ เติมตลาด และเติมการจัดการ จนเกิดเป็น Social Enterprise โดยหน่วยงาน SE ทำหน้าที่เป็น Strategic Team และเป็น Service Provider ให้ทีมปฏิบัติการในพื้นที่ที่ทำงานกับเกษตรกรและชุมชน

“สิ่งที่เป็นความยั่งยืน ตามแนวทางของ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ คือ 1) การสร้างองค์ความรู้ 2) สร้าง Business Model ที่ยั่งยืน 3) การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ชุมชนต้องอยู่ได้ด้วยตนเอง” ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่เป็นแนวทางในการทำงานของทีม SE โดยยึดหลักแรก คือ 1) ยอมรับความเปลี่ยนแปลง โดยมีการทำงานกับหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ อาทิ กรมอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ หน่วยงานของจังหวัด จึงมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ดังนั้นจึงต้องมีความยืดหยุ่น ยอมรับ และจัดการให้ทันสถานการณ์

2) เครื่องมือที่ใช้เป็นกลยุทท์ในการทำงาน S-O-C-I-A-L ซึ่งเป็นกลไกการทำงาน ได้แก่ S ต้องมีการแก้ปัญหาได้ O ต้องเกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน C ต้องก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆได้ สามารถนำไปปรับใช้ได้ในหลากหลายพื้นที่ I ต้องมีส่วนร่วม โดยผนึกกำลังกัน ต้องหาคนเก่งมาช่วยกันทำในแต่ละด้าน A ต้องโฟกัสเรื่องการแข่งขันทางการตลาด และ Lนำไปสู่ความยั่งยืนในระยะยาว

3) พัฒนาครบ CP-SDM โดยงานเปรียบเสมือนเก้าอี้ 4 ขา 4 ข้อ ได้แก่ 3.1) โมเดลสร้างการมีส่วนร่วม 3.2) โมเดลฟื้นฟู รักษาทรัพยากรธรรมชาติ 3.3) โมเดลสร้างผู้นำชุมชน และ 3.4) โมเดลธุรกิจชุมชน เป็นหัวใจสำคัญที่จะประสบความสำเร็จ ซึ่งถ้าขาดขาใดขาหนึ่งไป ก็จะทำให้ใช้ไม่ได้ ไม่ประสบความสำเร็จ และ 4) การสร้างเครือข่าย ที่เป็นหัวใจในการขับเคลื่อนงานให้ประสบผลสำเร็จ

จากนั้น คุณอรรถวิทย์ ยุทธยศ (คนซ้าย) หัวหน้าทีมปฏิบัติการต้นน้ำน่าน ผู้จัดการทั่วไปด้านปฏิบัติการความยั่งยืน หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในการทำงานในพื้นที่จังหวัดน่าน ที่ถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเครือ และมีความสำคัญระดับประเทศ ซึ่งปัจจุบันมีภาคีเครือข่ายอยู่ทุกอำเภอในจังหวัดน่าน อีกทั้งยังได้จัดตั้งสำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชนแห่งแรก ดังนั้นในการทำงานกับภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคม ภาครัฐ NGO ก็สามารถเข้ามาร่วมมือและประสานงานได้ง่าย

โดยกระบวนการทำงานสบขุ่นโมเดล มี 6 ขั้นตอน 1) ศึกษาโมเดลในการพัฒนา 2) สร้างความเข้าใจและผนึกกำลังกับภาคีเครือข่าย 3) เข้าถึงพื้นที่เก็บข้อมูล ทั้งด้ายกายภาพ เศรษฐกิจและชุมชน 4) คืนข้อมูลให้ชุมชน รวมถึงทำประชาคมต่างๆ 5) โมเดลปรับเปลี่ยนแนวคิด “ตลาดนำ อาชีพตาม” โดยเริ่มจากต้นน้ำ ปลูกกาแฟคุณภาพ โดยเริ่มจากสร้างความเชื่อมั่นว่าซีพีจะเป็นพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ กลางน้ำ มีการแปรรูปเพิ่มมูลค่า เกิดเป็นวิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เกิดรายได้ 6) ปลายน้ำ นำไปสู่สบขุ่นโมเดล ในการสร้างป่าสร้างรายได้ และกาแฟคืนป่าคืนชีวิต

การสร้างความเชื่อมั่นของชุมชนต่อซีพี จะมีผู้บริหารเข้ารับฟังปัญหาของชุมชนอย่างสม่ำเสมอ และให้การสนับสนุนในการลงพื้นที่ ติดตามและให้กำลังใจชุมชน ทำให้ชุมชนเกิดความมั่นใจว่าซีพีก็เข้ามาช่วยเหลือและติดตามผลอยู่เสมอ นำมาสู่ความเชื่อใจว่าถ้าปรับเปลี่ยนและพัฒนาตามแผนงาน จะทำให้วิถีชีวิตในชุมชน ตลอดจนทรัพยากรในพื้นที่ได้รับการฟื้นฟูไปในทิศทางที่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีพี่เลี้ยงอยู่ในชุมชนไว้ติดต่อ คอยชี้แนะ สร้างระบบการทำงาน ถ่ายทอดองค์ความรู้และมีส่วนร่วมกับชุมชนในทุกขั้นตอน นอกจากนี้หัวใจในการขับเคลื่อนงานกับภาคีเครือข่าย ต้องรายงานผลการดำเนินงานแก่ภาคีอย่างสม่ำเสมอ มีการร่วมกิจกรรมกับภาคีเครือข่าย เชิญผู้แทนภาคประชาคมมาแลกเปลี่ยนดูงานในพื้นที่ และสร้างการรับรู้กับสื่อมวลชนท้องถิ่น

ทางด้าน คุณนนท์ นาคะเสถียร (คนขวา) หัวหน้าทีมปฏิบัติการต้นน้ำ ปิง วัง ยม ผู้จัดการทั่วไปด้านปฏิบัติการความยั่งยืน หน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า พื้นที่ดำเนินงาน ประกอบไปด้วย 2 ต้นน้ำ 8 โครงการ โดยมีแนวคิดฟื้นฟูรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสร้างอาชีพ สร้างรายได้เป็นหลัก โดยมีกลยุทธ์ 5 สร้าง ได้แก่ 1) สร้างแรงจูงใจจากผู้นำ เพื่อนำไปสื่อสารกับชุมชน 2) สร้างคนในชุมชน ให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืน 3) สร้างองค์ความรู้ เพื่อให้สามารถดำเนินตามแนวทางที่ถูกต้อง 4) สร้างพื้นที่รูปธรรม เพื่อให้สามารถเป็นแบบอย่างให้เกษตรกรรายอื่นๆได้เห็นภาพความสำเร็จ 5) สร้างต้นแบบ Social Enterprise ที่ชุมชนต้องดำเนินงานได้ด้วยตนเอง จึงมีการสนับสนุนให้รวมกลุ่มและยกระดับกลุ่มให้เกิดการค้าขายได้อย่างมืออาชีพ

สำหรับหัวใจในการทำงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ “จริงใจ ทำจริง” โดยมีกระบวนการสร้างความสัมพันธ์ภาคีเครือข่าย ได้แก่ กำหนดเป้าหมายร่วมกัน เชื่อมโยงการทำงานกับเป้าหมาย ศึกษาข้อมูลเชิงลึก ลักษณะการทำงานของกลุ่มภาคี และหาช่องทางในการเข้าถึงเพื่อสร้างความสัมพันธ์ จนเกิดกระบวนการทำงานร่วมกัน ให้เกิดการทำงานอย่างแท้จริง

ตัวอย่างที่ 1 โครงการจัดการป่าอเนกประโยชน์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วยศาสตร์พระราชาบ้านกองกาย ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวเขาปกากะญอ ทำให้การสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจร่วมกับชุมชนมีความยากลำบาก ดังนั้นจึงนำกลยุทธ์เลือกคนที่ใช่มาเป็นผู้นำในการทำงาน เพื่อช่วยในการสื่อสารทำความเข้าใจให้กับคนในชุมชน ให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น

ตัวอย่างที่ 2 โครงการแสนกล้าดี แม่แจ่มโมเดลพลัส เป็นโครงการฟื้นฟูธรรมชาติ ปรับเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เป็นการใช้ไผ่เป็นพืชเบิกนำ ซึ่งเป็นโครงการที่มีหัวใจสำคัญที่จะผนึกกำลังทำความเข้าใจกับภาคีเครือข่ายภายใต้ “ความจริงใจ” ที่ซีพีมีให้ โดยปัจจุบันผู้บริหารและภาคีเครือข่ายสามารถร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น

คุณอภัยชนม์ วัชรสินธุ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านประสานกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า จากประสบการณ์ คำบอกเล่าของทั้งสามท่านที่กล่าว สิ่งที่สำคัญคือ นโยบายและแนวคิดของผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่จะทำความดีเพื่อสังคม โดยเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการร่วมมือกันแบบบูรณาการให้เกิดการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืน ซึ่งทีมงานหน่วยงานด้านพัฒนาความยั่งยืนดำเนินการได้เป็นแบบอย่างที่ดีกับหน่วยงานและพนักงานในเครือฯที่ทำงานด้านสังคมซึ่งสามารถนำประสบการณ์ แนวทางการทำงานจากทีมงานนี้เป็นประโยชน์กับหน่วยงาน โครงการสังคมภายในเครือ ซึ่งเป็นเจตนารมย์ของการจัดเวทีเสวนา

สำหรับกิจกรรม CP CSR TALK ครั้งที่ 5 นี้ ทำให้ได้ความรู้ในด้านยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จนเกิดภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนโครงการได้อย่างเข้มแข็ง ยั่งยืน จนถึงประสบความสำเร็จ ซึ่งสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญ คือวิสัยทัศน์ของการเป็นผู้นำ และความเข้มแข็งของทีมผู้บริหาร หลังจากนั้นจะเป็นเรื่องของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ที่เราจะต้องทำอย่างจริงจัง และจริงใจ ซึ่งสิ่งที่ชัดเจนของทีมงานหน่วยงานพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เป็นเรื่องของยุทธวิธีในการสื่อสาร ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับ BU ต่างๆทั้งในและต่างประเทศ คุณอภัยชนม์ กล่าวสรุป

นอกจากนี้เพื่อนๆในเครือฯที่เข้าร่วมการเสวนายังได้แสดงความคิดเห็นและประโยชน์จากการเสวนาในครั้งนี้ว่า
– เป็นโครงการที่ดีมากๆ อยากให้มีการสื่อสารโครงการเหล่านี้ให้พนักงานในเครือฯ ได้รับทราบอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องมากขึ้น

– อยากให้ส่งเสริมให้ทำการตลาดออนไลน์ให้ชุมชนต้นน้ำ อยากให้ต่อยอดโครงการไปยังพื้นที่อื่นๆ เช่น ที่ศรีสะเกษบ้านผมขณะนี้ทำโครงการปลูกกาแฟครบวงจร โรบัสต้าศรีสะเกษ อยากขอรับพิจารณาการสนับสนุน

– ขยายโมเดลที่ทำสำเร็จแล้วไปยังกลุ่มบริษัทอื่นๆของซีพี เช่น คู่มือแนวปฏิบัติ เพื่อนำไปขยายผลได้ด้วยความรู้และประสบการณ์ที่ได้มา รวมถึงการแก้ปัญหาด้วย

– ได้ประโยชน์ไปใช้ในการทำงานในชุมชน ที่สามารถนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ จนเกิดประโยชน์ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม presentation สวยทุกเฟรม ขอชื่นชมทุกท่านในทีมที่ได้ทุ่มเทกำลังใจ กำลังกายทำงานจนประสบความสำเร็จ

– พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืน

– หัวใจสำคัญ คือ แนวคิดศาสตร์พระราชา โดยผนึกกำลังกับภาคีเครือข่าย ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา ภาคเอกชน ส่วนที่จะเสริมเพิ่มเติม คือ พัฒนาต่อยอดด้านการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

– เนื้อหาการบรรยายจัดเต็ม ได้เรียนรู้จากผู้ปฏิบัติจริง จากความสำเร็จที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงแนวทางในการทำงานกับคนให้สำเร็จ เป็นโครงการที่ดีต่อสังคมและเป็นภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร

######